DSpace Repository

กระบวนการกลุ่มและพฤติกรรมรวมหมู่จลาจล : ศึกษากรณีศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Show simple item record

dc.contributor.advisor จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย
dc.contributor.author ยุภาภรณ์ ไพรบูลย์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.coverage.spatial สุราษฎร์ธานี
dc.date.accessioned 2013-07-03T03:16:37Z
dc.date.available 2013-07-03T03:16:37Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32740
dc.description วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en_US
dc.description.abstract การศึกษาวิจัย เรื่องกระบวนการกลุ่มและพฤติกรรมรวมหมู่จลาจล: ศึกษากรณีศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการกลุ่มและพฤติกรรมรวมหมู่จลาจลของเด็กและเยาวชน และเพื่อศึกษาบุคลิกภาพผู้นำกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการกลุ่มและพฤติกรรมรวมหมู่จลาจลของเด็กและเยาวชน โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่ม แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมรวมหมู่จลาจล และแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนผู้กระทำผิดในการศึกษา และใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิคการสำรวจ การสัมภาษณ์เจาะลึก (in – depth interview) การสนทนากลุ่ม (focus group) การระดมพลังสร้างสรรค์ (appreciate influence control: AIC) การสังเกต (observation) และการจดบันทึก (flied note) รวมถึงนำเทคนิคทางจิตวิทยามาใช้ในการวิเคราะห์บุคลิกภาพ แกนนำกลุ่ม จำนวน 12 คน และสมาชิกกลุ่ม จำนวน 18 คน ผลการวิจัย พบว่า การรวมกลุ่มของเด็กและเยาวชนจาก 2 จังหวัดใหญ่ๆ คือ จังหวัด สุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการสืบทอดอำนาจและค่านิยมที่ปฏิบัติต่อเนื่องกันมาจนเกิดเป็นการคงอยู่ของกลุ่ม การรวมกลุ่มของเด็กและเยาวชนนั้นมีความสัมพันธ์และผูกโยงกับวัฒนธรรมย่อย ความภาคภูมิใจในท้องถิ่น ความรักในศักดิ์ศรี ความเป็นพวกพ้องเดียวกัน เมื่ออยู่ในกลุ่มจะได้รับการยอมรับจากเพื่อน มีความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิต มีผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งนี้ยังพบว่าแกนนำกลุ่มได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เป็นที่รักของเพื่อน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจ มีความมั่นใจ มีความกล้าหาญ ยอมรับความกดดันได้ และสามารถแก้ปัญหาให้สมาชิกในกลุ่มได้ทุกอย่าง ดังนั้นบุคลิกภาพและคุณสมบัติของกลุ่มแกนนำจึงมีผลต่อการคงอยู่ของกลุ่ม ส่วนกลุ่มที่ขาดแกนนำทำให้มีความน่าเชื่อถือลดลง และจะถูกกดดันจากกลุ่มใหญ่ที่มีอิทธิพลให้เข้ารวมเป็นกลุ่มเดียวกัน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งและทะเลาะวิวาทกันระหว่างกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ต้องการรักษาสถานภาพกลุ่มของตนให้คงอยู่ต่อไป en_US
dc.description.abstractalternative This research aims to study group process and riot collective behavior of youths in the Regional Juvenile Vocational Training Centre District 8, Suratthani Province. Theories applied in this research are group process, collective behavior, and the treatment program for juvenile delinquents. The researcher used qualitative research methods in collecting data, i.e. in-depth interview, focus group, observation and note taking, along with psychological methods, i.e. MPI (Maudsley Personality Inventory) from 12 group leaders and 18 members. The result of this study found that; collaborating reason in grouping was sub-culture and local values of people who live in the same area; grouping became tradition that most of the youths transfer their pattern of behaviors to the next generation; being a group member, youths gain many advantages; they proud to be somebody in the group; they are accept and gain supported from friends in group; group leaders carried the important roles in the being of group; without the leader, group will lost it’s power and be forced to combine with the other more powerful group. Thus, these caused conflicts and violence among groups in trying to survive to maintain their own groups. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.29
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ความผิดในคดีเด็กและเยาวชน en_US
dc.subject กลุ่มคน en_US
dc.subject พฤติกรรมรวมหมู่ en_US
dc.subject การจลาจล -- ไทย -- สุราษฎร์ธานี en_US
dc.subject Juvenile delinquency en_US
dc.subject Crowds en_US
dc.subject Collective behavior en_US
dc.subject Riots -- Thailand -- Suratthani en_US
dc.title กระบวนการกลุ่มและพฤติกรรมรวมหมู่จลาจล : ศึกษากรณีศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี en_US
dc.title.alternative Group process and riot collective behavior : a case study of The Regional Juvenile Vocational Training Centre District 8, Suratthani Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name สังคมวิทยามหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สังคมวิทยา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor jutharat.u@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.29


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record