DSpace Repository

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความยืดหยุ่นของหลอดเลือดแดงส่วนปลายและความดันโลหิตของหลอดเลือดแดงใหญ่ในปอดและการคลายตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายในผู้ป่วยโรคหนังแข็ง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศริญญา ภูวนันท์
dc.contributor.advisor สมนพร บุณยะรัตเวช สองเมือง
dc.contributor.author วัชระ โลหะวิจารณ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-07-08T04:00:29Z
dc.date.available 2013-07-08T04:00:29Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32896
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en_US
dc.description.abstract ที่มา: ภาวะความดันโลหิตของหลอดเลือดแดงใหญ่ในปอดสูงเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญในผู้ป่วยโรคหนังแข็ง นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคหนังแข็งยังมีหลอดเลือดแดงส่วนปลายที่มีความยืดหยุ่นน้อยกว่าปกติและมีการคลายตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายที่ผิดปกติด้วย แต่ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาถึงเรื่องความสัมพันธ์ของความผิดปกติทั้งสามอย่างที่พบในผู้ป่วยโรคหนังแข็งชาวไทยมาก่อน วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างความยืดหยุ่นของหลอดเลือดแดงส่วนปลายกับความดันโลหิตของหลอดเลือดแดงใหญ่ในปอดและการคลายตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายในโรคหนังแข็ง รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงวิเคราะห์ ระเบียบการวิจัย: ผู้ป่วยโรคหนังแข็งที่มารับรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 33 ราย และอาสาสมัครที่มีสุขภาพแข็งแรงจำนวน 15 ราย จนได้รับการตรวจวัดดัชนีความยืดหยุ่นของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย ด้วยวิธี Cardio-Ankle Vascular Index (CAVI) และจะได้รับการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram) เพื่อประเมินความดันโลหิตของหลอดเลือดแดงใหญ่ในปอดและการคลายตัวของหัวใจ ผลการวิจัย: ดัชนีความยืดหยุ่นของหลอดเลือดแดงส่วนปลายในผู้ป่วยโรคหนังแข็งมีความสัมพันธ์แบบเส้นตรงเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความดันโลหิตของหลอดเลือดแดงใหญ่ในปอด (R square = 0.39 p < 0.001) แต่ไม่พบความสัมพันธ์กับการคลายตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย สรุป: ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดแดงส่วนปลายในผู้ป่วยโรคหนังแข็งช่วยทำนายถึงการมีภาวะความดันโลหิตของหลอดเลือดแดงใหญ่ในปอดได้ แต่ไม่สามารถทำนายการคลายตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายได้ en_US
dc.description.abstractalternative Background: Pulmonary hypertension (PH) is the leading cause of death in patients with systemic sclerosis (SSc). Recently, few studies have reported that patients with SSC have increased peripheral'arterial stiffness (PAS) and left ventricular (LV) diastolic dysfunction. Little is known about the relation of PAS to PH and to LV diastolic function in Thao SSc patients. Objective: To correlate the arterial stiffness assessed by cadio-ankle vascular index (CAVI) with pulmonary arterial systolic pressure (PASP) and LV diastolic function assessed by echocardiography in patients with SSc. Design: Cross-sectional analytic research study Method: We prospectively enrolled 33 patients with sclerodarma and 15 age and sex match healthy control subject in King Chulalongkorn Memorial Hospital. All of them were performed both CAVI measurment and echocardiography to assess artirial stiffness, pulmonary arterial systolic pressure (PASP) and LV diastolic function. Results: There was a significant positive correlation between CAVI and PASP (R square = 0.36, p < 0.001) but no significant correlation between CAVI and LV diastolic function in SSc patients. Conclusion: Arterial stiffness can predict pulmonary arterial systolic pressure but can not predict LV diastolic function in SSc patients. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1334
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ความดันเลือดสูงในปอด en_US
dc.subject โรคหนังแข็ง -- สมุฏฐานวิทยา en_US
dc.subject ปอด -- หลอดเลือด en_US
dc.subject การคลายตัวของหัวใจ en_US
dc.subject Pulmonary hypertension en_US
dc.subject Systemic scleroderma -- Etiology en_US
dc.subject Lungs -- Blood-vessels en_US
dc.subject Diastole (Cardiac cycle) en_US
dc.title การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความยืดหยุ่นของหลอดเลือดแดงส่วนปลายและความดันโลหิตของหลอดเลือดแดงใหญ่ในปอดและการคลายตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายในผู้ป่วยโรคหนังแข็ง en_US
dc.title.alternative Relation of cardio–ankle vascular index [CAVI] to pulmonary pressure and to left ventricular diastolic function in patients with systemic sclerosis en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor spuwanant@gmail.com
dc.email.advisor bsmonporn@gmail.com
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2010.1334


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record