Abstract:
ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพประชากร เพราะน้ำหนักแรกเกิดเป็นตัวทำนายที่มีประสิทธิภาพของการเจริญเติบโต และการมีชีวิตรอดของทารก การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา อุบัติการณ์ของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจาก โครงการสำรวจอนามัยการเจริญพันธุ์ พ.ศ. 2552 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ตัวอย่างในการศึกษาคือสตรีอายุ 15-59 ปีที่มีบุตรคนสุดท้องที่ยังมีชีวิตอยู่อายุต่ำกว่า 1 ปี และมีข้อมูลน้ำหนักเมื่อแรกเกิดจำนวน 1,029 คน โดยสตรีเหล่านี้เป็นผู้ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 นั้น ประเทศไทยมีอุบัติการณ์ของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยเท่ากับ 6.99% ผลการวิเคราะห์ การถดถอยโลจิสติกทวิภาคแบบพหุที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่า ตัวแปรอิสระทั้ง 14 ตัวภายใต้ ปัจจัยด้านมารดา และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สามารถอธิบายความแปรปรวนของการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยได้ 10.76% (R² = 0.1076) นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคทวิภาคแบบพหุขั้นตอน พบว่า อายุมารดาเป็นตัวแปรที่สามารถอธิบายความแปรปรวน ของเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยได้ดีที่สุดคือ 2.83% รองลงมาคือ อายุครรภ์เมื่อฝากครรภ์ครั้งแรก ภาคที่อยู่อาศัยและการได้รับควันบุหรี่จากสมาชิกในครอบครัว ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนของการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยเพิ่มขึ้น 2.01% 2.30% และ 1.00% ตามลำดับ โดยพบว่ามารดาที่มีอายุ 15-19 ปี และมารดาที่มีอายุ 35-59 ปี มีโอกาสเสี่ยงที่จะให้กำเนิดทารกที่มีน้ำหนักเมื่อแรกเกิดน้อยสูงเป็น 2.6012 และ 1.3876 เท่าของมารดาที่มีอายุ 20-34 ปีตามลำดับ และมารดาที่ฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไปมีโอกาสเสี่ยงสูงเป็น 1.7319 เท่าของมารดาที่ฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ในขณะที่มารดาที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีโอกาสเสี่ยงเท่ากับ 0.3955 เท่าของมารดาที่อาศัยอยู่ในภาคกลางและกรุงเทพมหานคร และมารดาที่ได้รับควันบุหรี่จากสมาชิกในครอบครัวมีโอกาสเสี่ยงสูงเป็น 1.9752 เท่าของมารดาที่ไม่ได้รับควันบุหรี่จากสมาชิกในครอบครัว
นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคทวิภาคแบบพหุขั้นตอน พบว่า อายุมารดาเป็นตัวแปรที่สามารถอธิบายความแปรปรวน ของเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยได้ดีที่สุดคือ 2.83% รองลงมาคือ อายุครรภ์เมื่อฝากครรภ์ครั้งแรก ภาคที่อยู่อาศัยและการได้รับควันบุหรี่จากสมาชิกในครอบครัว ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนของการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยเพิ่มขึ้น 2.01% 2.30% และ 1.00% ตามลำดับ โดยพบว่ามารดาที่มีอายุ 15-19 ปี และมารดาที่มีอายุ 35-59 ปี มีโอกาสเสี่ยงที่จะให้กำเนิดทารกที่มีน้ำหนักเมื่อแรกเกิดน้อยสูงเป็น 2.6012 และ 1.3876 เท่าของมารดาที่มีอายุ 20-34 ปีตามลำดับ และมารดาที่ฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไปมีโอกาสเสี่ยงสูงเป็น 1.7319 เท่าของมารดาที่ฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ในขณะที่มารดาที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีโอกาสเสี่ยงเท่ากับ 0.3955 เท่าของมารดาที่อาศัยอยู่ในภาคกลางและกรุงเทพมหานคร และมารดาที่ได้รับควันบุหรี่จากสมาชิกในครอบครัวมีโอกาสเสี่ยงสูงเป็น 1.9752 เท่าของมารดาที่ไม่ได้รับควันบุหรี่จากสมาชิกในครอบครัว