Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างไทยกับมหาอำนาจทางการเงิน โดยใช้วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เป็นกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่าปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น มีสาเหตุมาจากการร่วมมือและแข่งขันของมหาอำนาจในระบบเศรษฐกิจการเงินโลก โดยเริ่มจากการยกเลิกระบบมาตรฐานทองคำของสหรัฐอเมริกาในปี 2514 ซึ่งได้นำไปสู่ความผันผวนของระบบเศรษบกิจการเงินโลกจนในที่สุดได้เกิดข้อตกลง Plaza Accord ในปี 2528 ที่บีบยังคับให้ญี่ปุ่นต้องปรับกลยุทธ์ โดยย้ายฐานการผลิตส่วนหนึ่งมายังประเทศไทย ขณะเดี่ยวกัน ภายหลังสงครามเย็นสิ้นสุดลงในปี 2532 สหรัฐอเมริกาได้เริ่มต้นผลักดันนโยบายเปิดเสรีทางการเงินต่อประเทศกำลังพัฒนาอย่างเต็มที่ จนได้นำไปสู่การจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจไทยในปี 2536 ซึ่งทำให้เงินกู้จากต่างประเทศไหลเข้าสู่ประเทศอย่างรวดเร็ว อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้แสวงหาผลประโยชน์จากปฏิสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจทางการเงินทั้งหลาย โดยเฉพาะจากการย้ายฐานการผลิตของญี่ปุ่น ขณะที่การเปิดเสรีทางการเงินั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากความ้องการของประเทศไทยที่จะนำเงินทุนมาพัฒนาเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ย่อมเป็นเรื่องปกติจของวัฎจักรการเติบโตและตกต่ำของระบบทุนนิยม สิ่งสำคัญ คือ การเรียนรู้และปรับปรุงตนเอง โดยรัฐบาลประชาธิปัตย์ได้ยอมรับความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายตามแบบ IMF ขณะที่ญี่ปุ่นได้ถือโอกาสเข้ามาสร้างอิทธิพลผ่านโครงการมิยาซาวา ยิ่งกว่านั้น รัฐบาลไทยรักไทย ยังได้สร้างนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ จนนำไปสู่การฟื้นฟูตัวของเศรษฐกิจไทย ผลกระทบของวิกฤตในปี 2540 ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมไทยอย่างถึงรากฐาน เพื่อรับมือกับปฏิสัมพันธ์ของมหาอำนาจการเงินที่รุนแรงและรวดเร็วยิ่งขึ้น