DSpace Repository

การเล่าเรื่องและการสร้างลักษณะตัวละครในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ที่มีตัวเอกเป็นสตรีจากเทพปกรณัมกรีก

Show simple item record

dc.contributor.advisor ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์
dc.contributor.author ณัฐพร ลิ้มประสิทธิ์วงค์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-07-31T09:49:33Z
dc.date.available 2013-07-31T09:49:33Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33596
dc.description วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเล่าเรื่องและลักษณะตัวละครสตรีในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์เทพปกรณัมกรีกที่มีตัวเอกเป็นสตรี เป็นการวิจัยโดยศึกษาเนื้อหาหรือวิเคราะห์ตัวบท(Textual Analysis) เพื่อสังเคราะห์หากลวิธีการเล่าเรื่องและลักษณะของตัวเอกสตรีในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์เทพปกรณัมกรีก โดยศึกษาภาพยนตร์นานาชาติจำนวน 8 เรื่อง และละครโทรทัศน์จำนวน 4 เรื่อง ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. การเล่าเรื่องในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์แบ่งได้เป็น3ประเภท ได้แก่ 1.1 ภาพยนตร์เทพปกรณัมกรีกที่ยึดตามบทละครเทพปกรณัมดั้งเดิม คือภาพยนตร์ที่ยึดองค์ประกอบการเล่าเรื่องตามบทละครเดิมอย่างชัดเจน ได้แก่ Antigone (Yorgos Javellas,1961 กรีซ), Electra(Mihalis Kakogiannis, 1962 กรีซ), The Trojan Women(Mihalis Kakogiannis,1971 กรีซ) และ Iphigenia (Mihalis Kakogiannis, 1977 กรีซและอังกฤษ)1.2 ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์เทพปกรณัมกรีกที่มีการเล่าเรื่องแบบผสม คือภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ที่นำข้อมูลของตำนานเทพปกรณัมมาจากหลายแหล่งและมีการนำมาตีความใหม่ โดยรักษาองค์ประกอบการเล่าเรื่องไว้บางส่วน ได้แก่ Helen of Troy (Robert Wise,1956 อเมริกา), Helen of Troy(John Kent Harrison,2003 อเมริกา), Medea (Pier Paolo Pasolini ,1969 อิตาลี) และ Medea (Lars Von Trier,1988 เดนมาร์ก)1.3 ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์กรีกที่ได้รับอิทธิพลเค้าโครงเรื่องจากเทพปกรณัมกรีก คือภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ที่นำเค้าโครงจากเทพปกรณัมมาสร้างสรรค์และตีความใหม่โดยรักษาองค์ประกอบการเล่าเรื่องเดิมไว้เป็นส่วนน้อย ได้แก่ เพลิงพิศวาส(ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล,1984 ไทย) ชั่วฟ้าดินสลาย (ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล,2010 ไทย) Medea (Theo Van Gogh,2005 เนเธอร์แลนด์) และMourning Becomes Electra (Nick Havinga ,1978 อเมริกา) 2.ลักษณะของสตรีที่ปรากฏออกมาตามการสร้างสรรค์ มี 4 แบบ ได้แก่ 2.1 ลักษณะของวีรสตรี คือผู้หญิงที่ยอมสละชีวิตเพื่อชาติ ได้แก่ อิฟิเจไนอา และแอนทิโกเน 2.2 ลักษณะของสตรีที่เป็นเหยื่อ คือผู้หญิงที่ตกอยู่ในสภาพที่เสียเปรียบ แบ่งได้เป็นสี่ประเภท ดังนี้ 2.2.1สตรีที่เป็นเหยื่อของสงคราม ได้แก่เฮคิวบา อันโดรมาคี และคัสแซนดรา 2.2.2 สตรีที่เป็นเหยื่อจากปัญหาภายในครอบครัว ได้แก่ อิเล็กทรา และลาวินิอา 2.2.3สตรีที่เป็นเหยื่อจากเพศสภาพ ได้แก่ มีเดีย(1988) และเฮเลน (2003) 2.2.4สตรีที่เป็นเหยื่อของบุรุษเพศ ได้แก่ มีเดีย(1969) และมีเดีย (2005) 2.3 ลักษณะของสตรีที่มีพลังเหนือบุรุษเพศ คือผู้หญิงที่ใช้ลักษณะพิเศษที่สามารถดึงดูดเพศตรงข้าม ได้แก่ เฮเลน (1971) ปรารถนา และยุพดี และ2.4 ลักษณะของสตรีที่มีความสมบูรณ์แบบ คือตัวละครที่มีความสมบูรณ์พร้อมในทุกด้าน ได้แก่ เฮเลน (1956) en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this research is to study the narrative and females character-building. Eight films and four television dramas are chosen for analyzing the narrative influenced from Greek mythology and the characteristic of female protagonists by using textual analysis method. The results of this thesis convey the following: 1. The narrative strategy in films and television dramas from Greek mythology can be divided into three groups. First, Greek mythology films based on Greek mythology drama which maintain narrative elements; Antigone (Yorgos Javellas,1961 Greece), Electra (Mihalis Kakogiannis, 1962 Greece), The Trojan Women (Mihalis Kakogiannis,1971 Greece) and Iphigenia (Mihalis Kakogiannis, 1977 Greece and United Kingdom).Second, Greek mythology films and television dramas based on different versions of Greek mythology which new interpretation; Helen of Troy (Robert Wise,1956 USA.), Helen of Troy(John Kent Harrison,2003 USA.), Medea (Pier Paolo Pasolini ,1969 Italy) and Medea (Lars Von Trier,1988 Denmark). Third, Greek mythology films and television dramas,which are influenced by Greek mythology plot, are reinterpreted. Few narrative elements of the mythology are retain. Such films and television dramas are Plerng-Pid-Sa-Was (M.L. Pundhevanop Dhewakul,1984 Thailand) Eternity (M.L. Pundhevanop Dhewakul,2010 Thailand) Medea (Theo Van Gogh,2005 Netherland) and Mourning Becomes Electra (Nick Havinga ,1978 USA.) 2. The characteristic of female protagonists in films and television drama from Greek mythology can be categorized into four groups. The first group is heroine protagonists; Iphigenia and Antogone. The second group is victimized female protagonists which can be divided as follow 1.The War Victims; Hecuba Andromache and Cassandra 2. The victim of family Problem; Electra and Lavinia 3. The victim of gender orientation; Medea (1988) and Helen (2003) 4. The victim of men’s deception ; Medea(1969) and Medea(2005). The third group is superior female protagonists; Helen (1971), Pradthana and Yoopadee. The last group is ideal female protagonist; Helen(1956) en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.426
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เทพปกรณัมกรีก en_US
dc.subject สตรีในภาพยนตร์ en_US
dc.subject สตรีในละคร en_US
dc.subject ตัวละครและลักษณะนิสัย en_US
dc.subject Mythology, Greek en_US
dc.subject Women in motion pictures en_US
dc.subject Women in the theater en_US
dc.subject Characters and characteristics en_US
dc.title การเล่าเรื่องและการสร้างลักษณะตัวละครในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ที่มีตัวเอกเป็นสตรีจากเทพปกรณัมกรีก en_US
dc.title.alternative Narrative and character-building in film and television with female protagonists from Greek mythology en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สื่อสารการแสดง en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Thiranan.A@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.426


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record