Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของจำนวนและความยาวของเดือยฟันคอมโพสิต เสริมเส้นใยต่อความต้านทานการแตกและรูปแบบการแตกในฟันกรามน้อยบน ใช้ฟันกรามน้อยบน จำนวน 40 ซี่ ตัดส่วนตัวฟันที่ตำแหน่งเหนือรอยต่อเคลือบฟันและเคลือบรากฟัน 2 มิลลิเมตร แล้ว รักษาคลองรากฟัน แบ่งฟันแบบสุ่มเป็ น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ใส่เดือยฟัน 1 คลองรากฟันด้าน เพดานยาว 8 มิลลิเมตร กลุ่มที่ 2 ใส่เดือยฟัน 2 คลองรากฟันด้านเพดานและด้านแก้มยาว 8 มิลลิเมตร กลุ่มที่ 3 ใส่เดือยฟัน 1 คลองรากฟันด้านเพดานยาว 4 มิลลิเมตร กลุ่มที่ 4 ใส่เดือยฟัน 2 คลองรากฟันด้านเพดานและด้านแก้มยาว 4 มิลลิเมตร ยึดเดือยฟันไฟบรีเคลียร์และครอบฟันโลหะ ด้วยสารยึดติดเอ็กไซด์ ดีเอสซี และเรซินซีเมนต์วาริโอลิงค์ทู นำชิ้นทดลองทัง้ หมดทดสอบค่าความ ต้านทานการแตกด้วยเครื่องทดสอบสากลชนิดอินสตรอน ให้แรงอัดทำมุม 45 องศากับแนวแกนฟัน ความเร็วหัวกด 0.5 มิลลิเมตร/นาที จนเกิดฟันแตก บันทึกค่าแรงที่ทำให้เกิดการแตกและรูปแบบ การแตก วิเคราะห์ค่าแรงที่วัดได้ทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง และ วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยวิธีทูกีย์ (p<0.05) ผลการทดลองพบว่าความต้านทานการ แตกของกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.008) แต่ไม่แตกต่างกับ กลุ่มที่ 3 และ 4 และกลุ่มที่ 2, 3 และ 4 มีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน รูปแบบการแตกทุกกลุ่มเกิดราก ฟันแตกในแนวเฉียงไปที่บริเวณปลายเดือยฟัน ในกลุ่มที่ 1 2 และ 4 รอยแตกส่วนมากเกิดบริเวณ ส่วนกลางรากฟัน ส่วนกลุ่มที่ 3 รอยแตกส่วนมากเกิดบริเวณส่วนต้นของรากฟันมากกว่ากลุ่มอื่น จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าความต้านทานการแตกของฟันที่บูรณะด้วยเดือยฟันเพียงคลองราก เดียวมากกว่ากลุ่มที่ใส่เดือยฟันสองคลองรากฟัน แต่ความต้านทานการแตกของฟันกลุ่มที่ใส่เดือย ฟันคอมโพสิตเสริมเส้นใยที่ความยาวของเดือย 4 และ 8 มิลลิเมตร มีค่าไม่แตกต่างกัน