Abstract:
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาหาปริมาณการใช้พลังงานต่อหนึ่งหน่วยการผลิต (Specific Energy Consumption) ของโรงงานผลิตไฟฟ้าประเภทโคเจนเนอเรชั่น หรือในทางการผลิตไฟฟ้าจะเรียกว่าค่า Heat Rate ซึ่งจะเป็นดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้านั้นๆหรือเป็นอัตราส่วนระหว่างปริมาณผลผลิต (ไฟฟ้า+ไอน้ำ) ต่อปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ใช้ รวมถึงการหาต้นทุนค่าก๊าซธรรมชาติต่อหน่วยการผลิต
โดยทำการเปรียบเทียบระหว่างแต่ละเทคโนโลยีการผลิต(กำหนดตามเครื่องกังหันก๊าซที่ใช้) ที่มีผลผลิตเป็นไฟฟ้าและไอน้ำ เมื่อกำหนดให้ค่า Heat Rate ของโรงไฟฟ้าตัวอย่างตาม Specification ที่กำลังการผลิตสูงสุด โดยมีผลผลิตไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว คือ 6,369.56 BTU/kWh มีต้นทุน 1.93 บาท/kWh เป็นเกณฑ์ จะพบว่า Heat Rate ของโรงไฟฟ้าตัวอย่างที่กำลังการผลิตตามสัญญาซื้อขายทั้งไฟฟ้าและไอน้ำ นั้นสูงกว่า 16.3% แต่จะต่ำกว่าค่าจากการใช้งานจริง ที่ 8,553.60 BTU/kWh ต้นทุน 2.59 บาท/kWh 15.63% ได้มีการนำเสนอแนวทางการปรับปรุงให้ดีขึ้นจากการใช้การจัดการในการเพิ่มผลผลิต และการประหยัดพลังงาน ทำให้สามารถลดค่า Heat Rate ของโรงไฟฟ้าตัวอย่างที่กำลังการผลิตตามสัญญาซื้อขายทั้งไฟฟ้าและไอน้ำ จาก 7,397.13 BTU/kWh หรือมีต้นทุน 2.24 บาท เป็น 6,691.67 BTU/kWh ต้นทุนลดลง0.21 บาท/kWh และหากเลือก Best Technology จากการวิจัยนี้คือ Rows-Royce RB211-H63จะให้ค่า Heat Rate ที่ดีที่สุด คือ 5,778.66 BTU/kWh หรือดีขึ้นกว่าเกณฑ์ 9.27% ต้นทุนลดลง 0.18 บาท/kWh