Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึง ภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีไทยในหมู่บ้านประมง ตลอดจนปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจจะกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีไทยในกลุ่มนี้ การศึกษาในครั้งนี้ได้พิจารณาข้อมูลทั่ว ๆ ไป เกี่ยวกับภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีไทยในหมู่บ้านประมง ตลอดจนได้นำเอาลักษณะที่เกี่ยวกับทางประชากร เศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ ที่คิดว่ามีอิทธิพลต่อภาวะเจริญพันธุ์นำมรใช้ในการศึกษาด้วย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการวิจัยของโครงการวิจัยลักษณะทางเศรษฐกิจของหมู่บ้านประมงซึ่งดำเนินการโดยสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2521 ครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่างมีทั้งสิ้น 638 ครัวเรือนจากสามจังหวัด คือ จังหวัดระยอง, จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดพังงา การศึกษาครั้งนี้คัดเลือกและรวบรวมข้อมูลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับภาวะพันธุ์และลักษณะทางด้านสังคมเศรษฐกิจ และประชากรซี่งได้จากการสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนชายและภรรยา สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวนั้นสัมภาษณ์จากสตรีที่ทำการสมรสแล้วอายุไม่เกิน 49 ปี ผลการศึกษาปรากฏว่า อายุแรกสมรสมีความสัมพันธ์กับภาวะเจริญพันธุ์ โดยที่จำนวนบุตรเกิดรอดจะลดลงตามการเพิ่มขึ้นของยุแรกสมรส และเมื่อพิจารณาโดยแบ่งเป็น 3 หมวดอายุ พบว่าได้ผลเช่นเดียวกัน ทั้งนี้โดยที่แบบแผนค่อนข้างจะชัดเจนใน 2 กลุ่มอายุแรก แต่เมื่อพิจารณาถึงกลุ่มอายุหลัง คืทอ สตรีอายุ 45 ปี และมากกว่าพบว่า มีความแปรผันอยู่บ้าง ส่วนปัจจัยด้านประชากรอื่น ๆ เช่น ระยะเวลาการสมรสจะพบว่ามีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ คือ สตรีซึ่งมีระยะเวลาสมรสยาวนานกว่าจะมรจำนวนบุตรเกิดรอดโดยเฉลี่ยสูงกว่า และการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการตายของทารกกับภาวะเจริญพันธุ์ พบว่าการลดอัตราอายขอบงทารกมีผลทำให้ภาวะเจริญพันธุ์ลดลง การพิจารณาเป็นรายจังหวัดหรือการพิจารณาโดยควบคุมอายุสตรีปัจจุบันก็ให้ผลในทำนองเดียวกัน สำหรับปัจจัยด้านสังคมพบว่า การศึกษาของสามีและภรรยามีความสัมพันธ์กับภาวะเจริญพันธุ์ กล่าวคือคู่สมรสที่ไม่รู้หนังสือจะมีจำนวนบุตรเกิดรอดสูงกว่าคู่สมรสที่มีการศึกษากระดับประถม สำหรับการพิจารณาเป็นรายจังหวัดในระดับการศึกษาเดียวกันก็ให้ผลในทำนองเดียวกัน สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะโครงสร้างของครอบครัวกับภาวะเจริญพันธุ์พบว่า ความสัมพันธ์ที่ได้ไม่มีแบบแผนที่แน่นอน ส่วนความสัมพันธ์ของศาสนากับภาวะเจริญพันธุ์ พบว่าสตรีที่มีสามีนับถือศาสนาพุทธมีจำนวนบุตรเกิดรอดโดยเฉลี่ยสูงกว่าที่สามีนับถือศาสนาอิสลาม แต่เมื่อพิจารณาตามหมวดอายุพบว่า ค่าที่ได้ไม่ต่างกันนัก จากการศึกษาถึงปัจจัยด้านเศรษฐกิจ พบว่า สตรีที่สามีมีอาชีพเกี่ยวกับประมง เกี่ยวกับการเกษตรจะมีจำนวนบุตรเกิดรอดโดยเฉลี่ยสูงกว่าสตรีที่สามีมีอาชีพบริหาร แต่เมื่อพิจารณาในแต่ละหมวดอายุพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอาชีพกับภาวะเจริญพันธุ์จะน้อยมาก สำหรับความสัมพันธ์ของอาชีพของสตรีกับภาวะเจริญพันธุ์พบว่า สตรีที่ทำงานมีจำนวนบุตรเกิดรอดโดยเฉลี่ยไม่แตกต่างจากสตรีที่ไม่ได้ทำงาน การพิจารณาแยกตามอาชีพของงานพบว่า สตรีที่มีอาชีพเกี่ยวกับการประมง เกี่ยวกับการเกษตรมีภาวะเจริญพันธุ์สูงกว่าสตรีที่ไม่ได้ทำงาน สตรีที่มีอาชีพค้าขาย และยังสูงกว่าสตรีที่มีอาชีพธุรกิจเกี่ยวกับประมง สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ของคู่สมรสกับภาวะเจริญพันธุ์พบว่า แบบแผนที่ได้จะเห็นชัดเมื่อพิจารณาคู่สมรสที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อปี และคู่สมรสที่มีรายได้ 50,000 บาทและมากกว่าต่อปี ความสัมพันธ์ส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะที่ว่าคู่สมรสที่มีรายได้ต่ำ จะมีภาวะเจริญพันธุ์สูงกว่าคู่สมรสที่รายได้สูงกว่าไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาทุกจังหวัดหรือแยกเป็นรายจังหวัด ปัจจัยด้านอื่น ๆ เกี่ยวกับเรื่องความรู้ ทัศนคติ และการวางแผนครอบครัวพบว่าผู้ที่เห็นด้วยกับการวางแผนครอบครัวจะมีจำนวนบุตรโดยเฉลี่ยต่ำกว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วย และผู้ที่เคยใช้การปฏิบัติเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวจะมีจำนวนบุตรโดยเฉลี่ยต่ำกว่าผู้ที่ไม่เคยใช้ อนึ่ง ถ้าพิจารณาแยกตามหมวดหมู่อายุในกลุ่มอายุ 15- 34 ปี พบว่า ผู้ที่เห็นด้วยและผู้ที่เคยใช้การคุมกำเนิดเพื่อวางแผนครอบครัวกับมีจำนวนบุตรโดยเฉลี่ยสูงกว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วย และผู้ที่ไม่เคยใช้ แต่กนกลุ่มอายุ 35 ปีและมากกว่ามีความสัมพันธ์กลับกัน ข้อที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่ง ก็คือ ผลของความแตกต่างด้านประชากร เศรษฐกิจ สังคมที่มี่ต่อภาวะเจริญพันธุ์ จะเห็นเด่นชัดในจังหวัดระยอง และจังหวัดเพชรบุรี มากกว่าในจังหวัดพังงา ในกรณีของจังหวัดระยองซึ่งมีสถานภาพทางเศรษฐกิจ สังคมสูงกว่า พบว่ามีภาวะเจริญพันธุ์ต่ำกว่าอีกสองจังหวัด การพิจารณาลักษณะดังกล่าวเมื่อมีการคุมตัวแปรด้านประชากร เศรษฐกิจ และสังคมก็ให้ผลในทำนองเดียวกัน นอกจากนี้เมื่อมีการนำอายุของสตรีมาพิจารณาด้วย ก็ยังพบว่าจังหวัดระยองมีภาวะเจริญพันธุ์ต่ำกว่าอีกสองจังหวัด โดยเฉพาะในหมวดอายุ 15-24 ปี และ 30-44 ปี