dc.contributor.advisor |
อรพรรณ พนัสพัฒนา |
|
dc.contributor.advisor |
ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์ |
|
dc.contributor.author |
สิริรัตน์ สารี |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
|
dc.coverage.spatial |
ไทย |
|
dc.date.accessioned |
2013-09-11T08:51:49Z |
|
dc.date.available |
2013-09-11T08:51:49Z |
|
dc.date.issued |
2555 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35889 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
en_US |
dc.description.abstract |
สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า (Trademark Licensing Agreement) เป็นสัญญาที่ผู้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า (Licensee) มีสิทธิที่จะใช้เครื่องหมายการค้าภายใต้เงื่อนไขที่ระบุอยู่ในสัญญานั้น ถือว่าเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 ที่สามารถประเมินราคาได้เช่นเดียวกับทรัพย์สินทั่วไป โดยจัดเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ซึ่งมีรูปแบบการประเมินอยู่ด้วยกัน 3 วิธี คือ 1. วิธีประเมินจากต้นทุน 2. วิธีประเมินจากราคาตลาด 3. วิธีประเมินจากรายได้ โดยวิธีการประเมินด้วยได้รายได้ จัดเป็นวิธีการประเมินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับการประเมินสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน รวมไปถึงสิทธิในสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาถึงแนวทางที่เหมาะสมในการนำสิทธิในสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าไปเป็นหลักประกันการชำระหนี้ รวมทั้งแนวทางการบังคับหลักประกันที่เหมาะสมกับลักษณะของสิทธิดังกล่าว ซึ่งจากการศึกษาพบว่า วิธีการโอนสิทธิเรียกร้อง หรือการทำข้อตกลงในรูปแบบสัญญาทั่วไป ที่ผู้ให้หลักประกันตกลงที่จะมอบสิทธิในสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าแก่เจ้าหนี้ เมื่อตนไม่ปฏิบัติตามสัญญาประธาน ข้อตกลงดังกล่าวก่อให้เกิดเพียงบุคลสิทธิผูกพันระหว่างคู่สัญญา ไม่ก่อให้เกิดสิทธิพิเศษแก่เจ้าหนี้ในการบังคับเอากับทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันแต่อย่างใด รวมทั้ง รูปแบบการประกันการชำระหนี้ด้วยทรัพย์ที่ก่อให้เกิดบุริมสิทธิแก่เจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบจำนองหรือจำนำ ก็ไม่สามารถที่จะนำมาใช้บังคับกับลักษณะของสิทธิในสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า ซึ่งมีลักษณะเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนได้
ผู้ศึกษาจึงเห็นว่า การนำสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้ามาเป็นหลักประกัน ควรใช้วิธีการภายใต้ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ... เนื่องจากผู้ให้หลักประกันไม่จำต้องส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับหลักประกัน ผู้ให้หลักประกันยังคงมีสิทธิใช้สอยหาประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นได้ในระหว่างสัญญาหลักประกันมีผลบังคับ และผู้รับหลักประกันยังอยู่ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันอีกด้วย ดังนั้น แนวทางการพัฒนากฎหมายและการทำสัญญาหลักประกันทางธุรกิจเพื่อรองรับการนำสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้ามาเป็นหลักประกัน มีแนวทางดังต่อไปนี้ 1. สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าที่จะนำมาเป็นหลักประกันได้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้อนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าก่อน 2. แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ... มาตรา 8(5) เพิ่มหลักเกณฑ์ให้สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่งที่นำมาเป็นหลักประกันได้ 3. วิธีการบังคับหลักประกันควรใช้วิธีการจำหน่ายโดยการประมูลโดยเปิดเผยและควรเพิ่มวิธีการบังคับโดยการให้อนุญาตช่วงด้วยอีกวิธีหนึ่ง 4. ควรกำหนดมาตรการในการคุ้มครองเจ้าหนี้ผู้รับหลักประกัน ไว้ในสัญญาหลักประกันทางธุรกิจด้วย |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The licensee’s right under a trademark license agreement is considered as a property under Section 138 of the Civil and Commercial Code of Thailand. It is also categorized as an intangible asset according to the Accounting Standard No. 38. There are three methods for valuation of licensee’s right as follows: 1) The Cost Approach, 2) The Comparison/Market Approach and 3) The Income Approach. The third method is the most appropriate method for valuation of intangible assets, including trademarks license rights.
This thesis studies the most appropriateness of using trademarks license agreement as collaterals, including its enforcement. The study finds that the transfer of right or contracts ofwhich the licensee agrees to transfer its trademark license right to its creditor is only a contractual right between the parties of the contract. In other words, it does not entitle the creditor a preferential right over the collateral. Moreover, the concepts of collateral which create a creditor’s preferential right under the Civil and Commercial Code such as mortgage and pledge cannot be applied with trademarks license agreement as it is intangible property.
The researcher is of the opinion that using a trademark as collateral should be allowed under the draft of the Secured Transaction Act B.E…. Under the act, the grantor is not required to handover the collateral to the grantee and the grantor retains the right to seek benefits from the collateral during the secured transaction. Furthermore, the grantee is considered as a secured creditor. Therefore, recommendations to support the use of licensee’s right as collateral are as follows: 1) the licensor’s prior consent to the use of licensee’s right as collateral shall be obtained, 2) the draft of the Secured Transaction Act B.E… Section 8 (5) should include trademark licensee’s right as a type of collateral, 3) enforcement of licensee’s right as collateral should be conducted by auction together with allowing sub-licensing, 4) measures to protect grantee should be provided in secured transaction agreement. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1481 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
เครื่องหมายการค้า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
en_US |
dc.subject |
เครื่องหมายการค้า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย |
en_US |
dc.subject |
การทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ |
en_US |
dc.subject |
ใบอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า |
en_US |
dc.subject |
หลักประกัน |
en_US |
dc.subject |
ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ |
en_US |
dc.subject |
Trademarks -- Law and legislation |
en_US |
dc.subject |
Trademarks -- Law and legislation -- Thailand |
en_US |
dc.subject |
License agreements |
en_US |
dc.subject |
Trademark licenses -- Law and legislation |
en_US |
dc.subject |
Security (Law) |
en_US |
dc.title |
การนำสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าเป็นหลักประกัน |
en_US |
dc.title.alternative |
Use of a trademark license agreement as collateral |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
นิติศาสตร์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
ไม่มีข้อมูล |
|
dc.email.advisor |
ไม่มีข้อมูล |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2012.1481 |
|