DSpace Repository

การประยุกต์ใช้เมมเมติกอัลกอริทึมสำหรับปัญหาการจัดลำดับผลิตภัณฑ์ที่มีหลายวัตถุประสงค์บนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมแบบลักษณะตัวยูในระบบผลิตแบบทันเวลาพอดี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปารเมศ ชุติมา
dc.contributor.author นพพล คำภิรมย์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-10-09T02:24:45Z
dc.date.available 2013-10-09T02:24:45Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36032
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en_US
dc.description.abstract สายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมแบบตัวยูเป็นรูปแบบสายการประกอบที่สอดคล้องกับการผลิตแบบทันเวลาพอดีในด้านการจัดรูปแบบเซลล์การทำงาน (Work cell) ซึ่งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบหลากหลายชนิด ดังนั้นจึงพิจารณาวัตถุประสงค์ในการจัดลำดับผลิตภัณฑ์คือ 1. เวลาในการปรับตั้งเครื่องจักรน้อยที่สุด (Minimize setup time) 2. ความผันแปรของภาระงานของสถานีปฏิบัติงานน้อยที่สุด (Minimize absolute deviation of workload) ซึ่งตอบสนองกับระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดีทั้ง 2 ด้านคือในด้านการลดเวลาการเตรียมเครื่องจักร (Reduction of Setup Time) และในด้านภาระงานของสถานีปฏิบัติงานอยู่ในระดับเดียวกัน (Smoothed Workload) และเนื่องจากปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหา NP-Hard ดังนั้นในงานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการบรรจวบร่วมกับเมมเมติกอัลกอริทึม (Combinatorial Optimization with Coincidence plus Memetic Algorithm: COIN plus M-NSGA II) แก้ปัญหาดังกล่าว พร้อมทั้งเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับวิธีการที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่นิยมในปัจจุบันคือวิธีเจนเนติกอัลกอริทึมแบบ NSGA II และวิธีเมมเมติกอัลกอริทึมแบบ M-NSGA II ในปัญหาทดลองทั้ง 9 ปัญหาย่อย จาก KIM (2002), McMullen (2001a) และบริษัทตัวอย่าง โดยใช้ตัวชี้วัดสมรรถะทั้ง 4 ด้าน คือในด้านคำตอบที่มีการลู่เข้าใกล้กลุ่มคำตอบที่ดีที่สุดที่แท้จริง ด้านการกระจายของกลุ่มคำตอบที่หาได้ ด้านอัตราส่วนของจำนวนกลุ่มคำตอบที่หาได้เทียบเท่ากับกลุ่มคำตอบที่แท้จริง และด้านเวลาในการประมวลผล ผลการทดลองพบว่าวิธีการบรรจวบร่วมกับเมมเมติกอัลกอริทึมที่นำเสนอเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการค้นหาคำตอบที่ดีกว่าเจนเนติกอัลกอริทึมแบบ NSGA II และวิธีเมมเมติกอัลกอริทึมแบบ M-NSGA II จากผลการทดลองสรุปได้ว่าวิธีการบรรจวบร่วมกับเมมเมติกอัลกอริทึมดังกล่าวสามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาการจัดลำดับผลิตภัณฑ์ที่มีหลายวัตถุประสงค์บนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมแบบตัวยูในระบบผลิตแบบทันเวลาพอดี ในปัญหาทดลองดังกล่าวได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ en_US
dc.description.abstractalternative The mixed-model U-line (MMUL) is a type of a just-in-time (JIT) production system where varieties of product models, similar product characteristics, are assembled in arrangement of work cell. There are two objectives which are setup times and absolute deviations of workloads across workstations to be minimized simultaneously. These objectives are basically of particular importance considering the crucial goals for efficient implementation of JIT in Reduction of Setup Time and smoothing the workload (total operation times at each workstation on the line). This type of problem is also an NP-hard problem. This research presents Combinatorial Optimization with Coincidence plus Memetic Algorithm (COIN plus M-NSGA II) to solve multi-objective sequencing problems on MMULs in JIT production systems and to compare efficiency of COIN plus M-NSGA II with two popular and effective algorithms, a genetic algorithm (NSGA-II) and Memetic Algorithm (M-NSGA-II) in problems of KIM (2002), McMullen (2001a) and a sample case factory. Experimental results show that the performance of COIN plus M-NSGA II is significantly better than NSGA-II and M-NSGA-II in terms of performance measurement that is, convergence measurements, spread measurements, ratio of non-dominated solution and CPU time. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.320
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject อุตสาหกรรมการผลิต en_US
dc.subject ทฤษฎีเครื่องจักรคำนวณ en_US
dc.subject อัลกอริทึม en_US
dc.subject Manufacturing industries en_US
dc.subject Machine theory en_US
dc.subject Algorithms en_US
dc.title การประยุกต์ใช้เมมเมติกอัลกอริทึมสำหรับปัญหาการจัดลำดับผลิตภัณฑ์ที่มีหลายวัตถุประสงค์บนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมแบบลักษณะตัวยูในระบบผลิตแบบทันเวลาพอดี en_US
dc.title.alternative Application of memetic algorithm for multi-objective sequencing problem on mixed-model u-shaped assembly line in jit production systems en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline วิศวกรรมอุตสาหการ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Parames.C@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.320


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record