Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพด้านการผลิตและความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดด้านพลังงาน โดยศึกษาข้อมูลจากโครงการกลุ่มพลังงานชีวมวลในปี พ.ศ. 2550 จำนวน 20 โครงการ ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพด้านการผลิตได้ทำการวิเคราะห์ด้วย Stochastic Production Frontier ภายใต้ฟังก์ชันการผลิตแบบ Transcendental Logarithmic Function และการวิเคราะห์ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบใช้การวิเคราะห์แบบ อัตราส่วนต้นทุนและผลได้ทางสังคม (Social Cost-Benefit ratio: SCB) โดยจะนำผลการวิเคราะห์ที่ได้ไปเปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง (Shadow Exchange Rate: SER) จากผลการศึกษาสรุปว่า "Khon Kaen Sugar Power Plant" มีประสิทธิภาพด้านการผลิตสูงที่สุดเท่ากับร้อยละ 99.727 แต่ "Malwa Industries, Ludhiana Small Scale Biomass Project" มีประสิทธิภาพด้านการผลิตต่ำที่สุดเท่ากับร้อยละ 50.850 ทั้งนี้ประสิทธิภาพด้านการผลิตเฉลี่ยในช่วงเวลาที่ทำการศึกษามีค่าร้อยละ 89.716 นอกจากนี้การประมาณค่า Shadow Exchange Rate ของประเทศไทย จีน และอินเดีย เท่ากับ 34.7926, 8.4857 และ 45.4606 ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบระหว่างอัตราส่วนระหว่าง SCB/SER พบว่าการดำเนินการของโครงการ CDM ในกลุ่มพลังงานชีวมวลที่นำมาศึกษามีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบทั้ง 20 โครงการจำแนกเป็นรายประเทศได้แก่ ประเทศไทยเท่ากับ 0.8253 ประเทศจีนเท่ากับ 0.7163 ประเทศอินเดียเท่ากับ 0.5782 แต่หากดำเนินการโดยไม่ได้รับเครดิต (without CDM) พบว่า SCB/SER ของทุกโครงการมีค่าเพิ่มขึ้นแสดงถึงความได้เปรียบที่ลดลง