DSpace Repository

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการตามข้อบังคับการประชุมสภาของไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์
dc.contributor.author จิตติวัฒน์ ทองนวล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-10-14T12:58:35Z
dc.date.available 2013-10-14T12:58:35Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36154
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงสภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการตามข้อบังคับการประชุมสภาของไทย โดยมุ่งเน้นศึกษาวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร อันเกิดจากบทบัญญัติในข้อบังคับการประชุมสภาที่ไม่ยังเอื้ออำนวยต่อการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งในด้านการดำเนินการประชุมสภา ในด้านกระบวนการนิติบัญญัติ และในด้านการควบคุมตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ โดยในการศึกษาครั้งนี้ ผู้เขียนได้ศึกษาเปรียบเทียบข้อบังคับ การประชุมสภาของต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อนำบทสรุปของการศึกษาวิเคราะห์มาใช้เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานของสภาตามบทบัญญัติในข้อบังคับการประชุมสภาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ผลจากการศึกษาเกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎรของไทยพบว่า มีสภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการตามข้อบังคับ การประชุมสภาหลายประการ ได้แก่ ปัญหาอันเกิดจากสถานะในทางกฎหมายและสภาพบังคับของข้อบังคับการประชุมสภาที่เป็นเพียงกฎข้อบังคับที่มีผลใช้บังคับภายในองค์กรของฝ่ายนิติบัญญัติ จึงไม่สามารถกำหนดบทลงโทษหรือสภาพบังคับใดๆ ต่อบุคคลและองค์กรภายนอกไว้ในข้อบังคับการประชุมสภาได้ ซึ่งทำให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ ปัญหาความไม่ชัดเจนในเรื่องของการควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของข้อบังคับการประชุมสภาภายหลังการประกาศใช้ว่าจะมีช่องทางในการควบคุมตรวจสอบได้หรือไม่ อย่างไร ปัญหาเกี่ยวกับภาวะผู้นำของประธานสภาและความ มีวินัยของสมาชิก ปัญหาเกี่ยวกับความไม่สันทัดและไม่ใส่ใจในการศึกษาข้อบังคับการประชุมสภาของสมาชิก ปัญหาการใช้อิทธิพลและการแย่งชิงต่อรองกันในทางการเมืองที่มีอิทธิพลเหนือข้อบังคับการประชุมสภาและกระบวนการในทางรัฐสภา นอกจากนั้นยังมีสภาพปัญหาและอุปสรรคในด้านการดำเนินการประชุมสภาทั้งในเรื่องของระยะเวลาในการประชุมสภาที่มีไม่เพียงพอต่อการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของสภาทำให้มีร่างกฎหมาย กระทู้ถาม และญัตติค้างพิจารณาอยู่เป็นจำนวนมาก ปัญหาความล่าช้าของการประชุมสภาและการขาดองค์ประชุมของสมาชิก ปัญหาเรื่องการประท้วงและการขอให้ นับองค์ประชุมที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในทางการเมืองบ่อยครั้งในสภา ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการประชุมสภาเป็นอย่างมาก ปัญหาด้าน การอภิปรายของสมาชิกที่ไม่เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภา ปัญหาด้านการจัดระเบียบวาระการประชุมสภาที่ไม่เป็นไปตามลำดับความสำคัญ และอำนาจวินิจฉัยสั่งการของประธานสภาในการบรรจุเรื่องต่างๆเข้าระเบียบวาระการประชุมที่อาจก่อให้เกิดความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เป็นกลางของประธานสภา ปัญหาการดำเนินการประชุมที่ไม่ได้เป็นไปตามระเบียบวาระการประชุมโดยมีการขอเปลี่ยนแปลงระเบียบวาระการประชุมบ่อยครั้งทำให้ระเบียบวาระการประชุมขาดความแน่นอนและไม่มีความชัดเจนว่าสภาจะพิจารณาเรื่องใดตามลำดับก่อนหลัง ปัญหาความล่าช้าของกระบวนการ นิติบัญญัติในแต่ละขั้นตอน และการขาดกลไกที่สนับสนุนงานด้านนิติบัญญัติของสมาชิก ปัญหาเกี่ยวกับระบบการทำงานของคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาที่มีจำนวนมากเกินไปและมีอำนาจหน้าที่ซ้ำซ้อนกัน ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการถามตอบกระทู้ถามในที่ประชุมสภา และการถามตอบกระทู้ถามสดที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จากสภาพปัญหาดังกล่าวจึงควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรของไทยให้มีกลไกที่สนับสนุนและเอื้ออำนวยให้ฝ่ายนิติบัญญัติปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยผู้เขียนได้เสนอแนะให้นำข้อดีของข้อบังคับ การประชุมสภาของต่างประเทศมาปรับใช้กับสภาผู้แทนราษฎรของไทย เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการระบบการทำงานของ สภาผู้แทนราษฎรของไทยให้เหมาะสมและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ต้องการปฏิรูปกระบวนการทำงานภายในของรัฐสภาและเพิ่มอำนาจให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจถ่วงดุลและตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารเพิ่มมากขึ้น en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this thesis is to study the problems and obstruction of implementing on the rules of procedures of the Thai parliament. The study focuses on the problems that occur during the parliament session as a result of the rules of procedure which do not fully support legislative authority to conduct the assembly, follow the legislative process and examine the public administration that affects the efficiency of the legislative body. This research compares the rules of procedure of the Thai parliament with foreign parliaments. The conclusion of this study is aimed at finding ways to improve the rules of procedure that will boost the efficiency and effectiveness of the parliament session. The result of this study shows that there are several obstacles to following the rules of procedure of the parliament session. For example, the rules of procedure are effective for only the legislative body and therefore cannot control or set a penalty for outsiders or outside organizations, resulting in the obstacle to the legislative body to exercise its authority. Other obstacles are the ambiguity of the examination process, the leadership skills of the assembly president and the disciplines of the members, the lack of proficiency and care amongst the members to study the rules of procedure, and the intervention of influential persons to negotiate for their benefits. Furthermore, insufficient time of the sitting leaves a great number of bills, interpellations and motions to be considered. There are also a delay in the meeting, a lack of quorum and a protest requesting for a quorum count which is frequently used as a tactic to attack the opponent, the agenda arrangement that is not put in order, the assembly president’s authority to make a decision and order that may arouse criticism over injustice, a request for rearranging the agenda that causes confusion in the meeting, the tardy legislative procedures, a lack of mechanism to support legislative works, an excess of members of the standing committee as well as the conflicts of power and duty, the procedures of making a reply to the interpellation and the verbal interpellation that are not in line with the constitution. As problems mentioned above, the rules of procedure of the Thai parliament session should be improved with the mechanism that supports the legislative body to perform the duty more efficiently. This study shows the advantage of applying some rules of procedures of the foreign parliaments to the Thai parliament in a bid to pave the way for developing the working system of the Thai House of Representatives to be in line with the current constitution of which purpose is to reform the working system of the Thai parliament and balance the power between the legislative and the administrative bodies. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1951
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject นิติบัญญัติ -- ไทย en_US
dc.subject นิติบัญญัติ -- การประชุม en_US
dc.subject รัฐสภา -- ไทย en_US
dc.subject สภาผู้แทนราษฎร en_US
dc.subject Legislation -- Thailand en_US
dc.subject Legislation -- Congresses en_US
dc.subject Legislative bodies -- Thailand en_US
dc.subject Assembly of the people's representatives en_US
dc.title ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการตามข้อบังคับการประชุมสภาของไทย en_US
dc.title.alternative Problems and obstruction in implementing the rules of procedure of the Thai parliament en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Kriengkrai.C@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.1951


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record