DSpace Repository

การบังคับใช้มาตรการทางอาญาเกี่ยวกับคดีล้มละลาย : ศึกษากรณีลูกหนี้ที่ต้องรับผิดทางอาญา

Show simple item record

dc.contributor.advisor คณพล จันทน์หอม
dc.contributor.advisor ไกรสร บารมีอวยชัย
dc.contributor.author นราธิป บุญญพนิช
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-10-17T13:06:34Z
dc.date.available 2013-10-17T13:06:34Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36264
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงการบังคับใช้มาตรการทางอาญาเกี่ยวกับคดีล้มละลาย โดยศึกษาเฉพาะกรณีความรับผิดทางอาญาของลูกหนี้ต่อการกระทำอันไม่สุจริต ซึ่งเกิดขึ้นทั้งก่อนเข้าสู่กระบวนการล้มละลายและในระหว่างกระบวนการล้มละลาย ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศฝรั่งเศส ผลการวิจัยพบว่า มีลูกหนี้เป็นจำนวนมากที่กระทำไม่สุจริตในทางการค้าและการบริหารกิจการ จนทำให้กิจการต้องประสบกับการมีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือเมื่อได้ชำระบัญชีแล้วสินทรัพย์ของกิจการไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้สินที่มีอยู่ ลูกหนี้หรือผู้บริหารกิจการดังกล่าวก็ไม่ต้องมีความรับผิดชอบต่อผลเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตน นอกจากนี้ยังมีคดีล้มละลายจำนวนมากที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ได้อันเกิดจากความไม่สุจริตของลูกหนี้ ซึ่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสนองตอบต่อระบบธุรกิจการค้าที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ดังนั้น จึงควรปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาที่บังคับใช้แก่ลูกหนี้ในคดีล้มละลาย เช่น การกำหนดให้การหลบหนีพร้อมกับทรัพย์สินเป็นความผิดแม้ได้กระทำเพียงอยู่ในขั้นตระเตรียมการ กำหนดความรับผิดทางอาญาต่อผู้บริหารนิติบุคคลซึ่งปล่อยให้กิจการทิ้งร้างหรือล้มละลายโดยมีเจตนาฉ้อฉล กำหนดให้ลูกหนี้มีหน้าที่ส่งมอบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อันเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของตนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และกำหนดให้มีหน่วยงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำหน้าที่รับผิดชอบงานด้านการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำผิดโดยตรง เป็นต้น en_US
dc.description.abstractalternative This thesis aims to study enforcement of Thai criminal measures in relation to bankruptcy cases in comparison to that of the United Kingdom, the United States, and France. The thesis relates specifically to criminal liability resulting from debtors’ acts of bad faith, which occur before or during a bankruptcy process. The research found that many businesses become insolvent (or there are still not enough assets to pay all the debts of the businesses even after liquidation) as a result of the debtors having acted in bad faith in carrying out their businesses. In such situation, the debtors and business managers are not liable for the economic losses caused by their actions. Moreover, there are many bankruptcy cases which the debtors’ acts of bad faith have prevented an official receiver from collecting the property of the debtors. In relevant to this issue, the Bankruptcy Act B.E. 2483 (1940) cannot be effectively enforced in response to changing business world. Therefore, the legal measures relating to criminal liability in bankruptcy cases should be improved as in the following examples. First, the law should clearly define an offence even in the case where the debtors prepare to abscond with property. Second, the law should impose criminal liability on business managers who intentionally and fraudulently allow the business to be defunct or bankrupt. Third, the law should impose a duty on the debtors to deliver electronic information relating to the business and their personal property to the official receiver. Moreover, the official receiver should have a division that is directly responsible for criminal proceedings, etc. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.743
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ล้มละลาย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย en_US
dc.subject ลูกหนี้ en_US
dc.subject ความรับผิดทางอาญา en_US
dc.subject Bankruptcy -- Law and legislation -- Thailand en_US
dc.subject Debtor and creditor en_US
dc.subject Criminal liability en_US
dc.title การบังคับใช้มาตรการทางอาญาเกี่ยวกับคดีล้มละลาย : ศึกษากรณีลูกหนี้ที่ต้องรับผิดทางอาญา en_US
dc.title.alternative Enforcement of criminal measures in relation to bankruptcy cases : a case study on criminally liable debtors en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.743


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record