DSpace Repository

การรำของตัวพราหมณ์ในการแสดงละครนอก

Show simple item record

dc.contributor.advisor สวภา เวชสุรักษ์
dc.contributor.author พิมพ์รัตน์ นะวะศิริ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-10-26T03:58:40Z
dc.date.available 2013-10-26T03:58:40Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9741422253
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36374
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การรำของตัวพราหมณ์ในการแสดงละครนอก ในด้านประวัติความเป็นมา องค์ประกอบ กระบวนท่ารำและกลวิธีการรำ โดยเลือกศึกษาบทบาทการแสดงของพราหมณ์ที่แปลงตัวมาจากผู้หญิง 3 ชุด ได้แก่ บทรบในเรื่องสุวรรณหงส์ 1 ชุด บทชมความงามตามธรรมชาติและบทเกี้ยวพาราสีในเรื่องสุวรรณหงส์ 1 ชุด บทโศกเศร้าในเรื่องมณีพิชัย 1 ชุด และเรื่องลักษณวงศ์ 1 ชุดโดยใช้วีดำเนินการวิจัยจากวรรณกรรมการแสดง บทละครของกรมศิลปากร การสัมภาษณ์ และ ประสบการณ์การแสดงของผู้วิจัย ผลการวิจัยพบว่า พราหมณ์เป็นชนชั้นสูงและเป็นที่เคารพในสังคมฮินดู เนื่องจากเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาฮินดู ลัทธินี้ได้แพร่กระจายเข้ามาสู่ในสังคมไทยมาแต่โบราณ ชนชั้นปกครองของไทยได้รับวิทยาการหลายสาขามาจากลัทธิดังกล่าวรวมทั้ง วรรณกรรมที่กวีนิยมสอดแทรกแนวความเชื่อเกี่ยวกับบทบาทของพราหมณ์ไว้ในเนื้อ เรื่อง โดยให้ตัวเอกของเรื่องแปลงตัวเป็นพราหมณ์เพื่อทำกิจกรรมสำคัญให้สำเร็จดัง ความปรารถนา เพื่อช่วยคลี่คลายเหตุการณ์สำคัญให้มีสถานการณ์ที่ดีขึ้น โดยกวีนำบทบาทสำคัญของพราหมณ์ในชีวิตจริงมาปรากฏในบทบาทของตัวเอก เพื่อเป็นการยกย่องสถานะของพราหมณ์ที่เป็นผู้นำทางพิธีและเป็นตัวแทนแห่ง ความสำเร็จในวิถีชีวิตของคนไทยในสมัยนั้น ความเชื่อเกี่ยวกับพราหมณ์ในวรรณกรรมของไทย ได้เชื่อมโยงมาสู่ละครรำตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา เพราะมีหลักฐานจากวรรณกรรม 2 เรื่อง คือ สุวรรณหงส์ และ มณีพิชัย บทละครทั้งสองเรื่องได้รับการปรับปรุงในเวลาต่อมา มีศิลปินหลวงและเอกชนสืบทอดท่ารำมาตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์และนิยมแสดงสืบต่อ กันมาจนถึงปัจจุบัน ในเรื่ององค์ประกอบการแสดงมีลักษณะผสมผสาน 2 ส่วน คือ วัฒนธรรมไทยแบบหลวง และวัฒนธรรมฮินดู วัฒนธรรมไทยแบบหลวง ได้แก่ ลักษณะวงปี่พาทย์ ทำนองเพลง การแต่งกายแบบยืนเครื่องพระและจารีตการแสดง วัฒนธรรมฮินดู ได้แก่ ลักษณะการแต่งกาย คือ สีขาวของเสื้อผ้า และ อุณาโลมสีแดงบนกลางหน้าผาก ซึ่งทั้งสองลักษณะนี้เป็นสัญลักษณ์ที่มาจากพราหมณ์ฮินดู พราหมณ์แปลง เป็นตัวเอกที่มีบทบาทเดิมเป็นเทพเจ้า กษัตริย์ และ นางกษัตริย์ ซึ่งพราหมณ์ที่แปลงกายมาจากตัวนางมักมีสถานะเป็นนางกษัตริย์มาก่อน ดังนั้นบุคลิกและลีลาท่ารำของพราหมณ์แปลงจึงแฝงจริกิริยาของสตรีชั้นสูงไว้ ในการแสดง พราหมณ์แปลง เป็นตัวละครที่มีสองบุคลิก กล่าวคือ บุคลิกภายนอกเป็นพราหมณ์ผู้ชายที่เสแสร้งแสดงกิริยาสง่างาม วาจาเรียบร้อยเป็นที่น่าเคารพแบบนักบวช มีท่าทีระมัดระวังตัว แต่บุคลิกภายในที่เป็นนางกษัตริย์จะเผยออกมาเมื่อลืมตัวจนไม่สามารถปกปิดกิริยาที่แท้จริงได้ ก็จะแสดงท่าทีกระตุ้งกระติ้ง เอียงอาย และควักค้อนตามนิสัยเดิม แบบแผนการรำพราหมณ์มีลกัษณะที่สำคัญ คือ การรำแบบสง่างามและนุ่มนวล โดยเคลื่อนไหวร่างกายไม่แรงนักและค่อนข้างรวดเร็วตามบทร้องและทำนองเพลงที่รกะชับ การรำทุกบทเป็นท่ารำตีบทพระที่มาจากแม่ท่าในโขนละคร และท่าที่มาจากกิริยาของมนุษย์ จุดเด่นของท่ารำบางท่า คือ รำแบบตัวนาง คือ รำแบบปิดเข่า ลักคอ กล่อมหน้า มีท่ารำแบบนางล้วนๆ และท่าที่ผสมลักษณะตัวนางเฉพาะส่วนล่างหรือส่วนบน ที่เรียกว่า "รำแบบผู้เมีย" บางช่วงจะแสดงจริตกิริยาของผู้หญิงออกมาอย่างเด่นชัดในบทต่างๆ ยกเว้นบทรบที่ต้องแสดงอารมณ์กล้าหาญแบบผู้ชายเพียงอย่างเดียว ลักษณะอารมณ์ที่แสดงถึงความเป็นสตรี คือ ท่าทีปัดป้อง สะบัดมือ เดินเลี่ยงออกไป ไม่สนใจฟัง การแสดงออกทางสีหน้า คือ การควักค้อน ใบหน้าเศร้าหมอง ชำเลืองมอง และหลบหน้า กิริยาท่ารำเหล่านี้สอดแทรกลงในท่ารำเพื่อให้เหมาะสมกับบทบาทของพราหมณ์แปลง ผลการวิจัยดังกล่าว นอกจากจะได้แบบแผนเฉพาะของตัวเอกในละครอีกรูปแบบหนึ่งแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อแวดวงนาฏยศิลป์ในด้านการสอน การวิจัย และการสร้างสรรค์งานนาฏศิปล์แบบหลวงในประเทศไทยด้วย en_US
dc.description.abstractalternative This research aims to study and analyze the origin, element, style, and technique of the dance movements of the Brahmin characters in Lakorn-nok. Four dance series involving females in a male Brahaman disguise were selected for this study: a combat scene from Suwannahong drama, a praise of beauty and courting scene also from Suwannahong drama, and two mourning scenes from Manipichai and Laksanawong dramas. The research methodologies employed are documentary research on Thai dance drama literature and the Fine Art Department's Lakorn drama scripts, interviews, and the researcher's personal experiences. The research found that as ritual specialists in Hinduism, the Brahmans belong to an elite and venerated class in Hindu society. Hinduism had spread to Thailand since ancient times and many of its advanced knowledge as well as literature, infused with conviction about the Brahmans' important status, were readily embraced by the Thai elite. Such literature often contains a theme about a principal character disguising himself or herself as a male Brahman to perform a crucial task or solve a crisis. This theme reflects the Brahmans' real-life roles as ritual specialists and a symbol of success in the eyes of the Thai people in former times. The belief in Brahmanism in Thai literature had appeared in many dance performances since Ayutthaya period, as are evident in the two dramas of that time: Suwannahong and Manipichai. Subsequently revised, these popular dramas and their dances have been mainatiend by both court and folk dance artists from early Rattanakosin period to the present time. There are two mixed elements in this performance, the Thai court and Hindu cultures. The Thai court culture is apparent in the characteristic musical styles and melodies of the Pipart ensemble, dance costumes, and the performing convention of the Thai court dance. Hindu influence is evident from the white costumes and the red Unalom mark on the dancer's forehead; both are distinct Hindu symbolism. Prahm Pleang (a bogus Brahman), usually a principal character of the drama, is actually a god, king or queen in disguise. The character and dance movements of Prahm Pleang are usually those of a highborn woman. There are two sides to the personality of Prahm Pleang characters; outwardly they project the noble, polite, and guarded manners of a well respected male Brahman, but at times when they lapse back to their real selves the female personality and mannerism will become apparence. Rum Prahm (the Brahmin Dance) is distinctive in its noble and gentle dance movements. Dancers make rapid yet delicate body movements in accompaniment to succinct songs and melodies. Each dance segment is performed in the Tee Bot Phra style which is an imitation of the major dance postures of Khon performance and human natural movements. In Rum Prahm, there are many styles of dance movements which reflect different personalities of the bogus Brahman character at various phases of the performance, ranging from the distinctively female to the distinctively male postures, mannerisms, facial and bodily expressions. There are also mixed-gender dance movements in which the dancer uses female movements for the top part of the body and male movements for the lower part of the body or vice versa. Apart from identifying the unique dance styles of the principal character in one from of the classical Thai dance, Rum Prahm, findings from this research also contribute to the instruction, research, and choreography of classical court dance in Thailand en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ละครนอก -- ตัวละคร en_US
dc.subject การรำ -- ไทย en_US
dc.subject Lakhon nok -- Character en_US
dc.subject Dance -- Thailand en_US
dc.subject Theater -- Thailand
dc.subject ละครนอก -- ตัวละคร
dc.title การรำของตัวพราหมณ์ในการแสดงละครนอก en_US
dc.title.alternative Dance movement of the Bramin characters in Lakorn-Nok en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นาฏยศิลป์ไทย en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record