Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงจำนวนครั้งในการสับไพ่เพื่อให้ไพ่มีความเป็นสุ่ม จึงได้จำลองการสับไพ่แบบ The Stripping หรือ Overhand shuffle โดยกำหนดรูปแบบการแจกแจงของตำแหน่งที่ทำการสับไพ่มีการแจกแจงแบบเบตา(Beta Distribution) และการแจกแจงของความหนา ของการสับไพ่มีการแจกแจงแบบยูนิฟอร์มไม่ต่อเนื่อง(Discrete Uniform Distribution) ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาตัวแบบของการสับไพ่ โดยการจำลองตัวแบบทั้งหมด 9 ตัวแบบด้วย การทำซ้ำ 10,000 ครั้งในแต่ละตัวแบบ และใช้ค่าระดับความสุ่ม(Randomness level) ของสำรับไพ่ด้วยเกณฑ์ความเรียงลำดับ (Sequencing-score criteria) ในการเปรียบเทียบ ผู้วิจัยได้นิยาม ค่าระดับความสุ่มของไพ่ 100% เมื่อ คือ ระดับความสุ่มของสำรับไพ่ คือ ความเรียงลำดับที่มีค่ามากที่สุดของสำรับไพ่ และ คือฟังก์ชันลำดับของไพ่หลังจากการสับไพ่ในการสับไพ่ครั้งที่ โดยที่ 5,6,…,40 เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบตัวแบบจำลองทั้ง 9 ตัวแบบ ผลการวิจัยพบว่า สำหรับเกณฑ์ระดับความสุ่มที่ยอมรับได้ 80% ตัวแบบของผู้สับไพ่เลือกการสับไพ่ส่วนกลางและมีความหนาของการสับไพ่แบบกลาง เป็นตัวแบบที่ดีที่สุดและมีจำนวนครั้งที่น้อยที่สุด คือ 7 ครั้ง สำหรับเกณฑ์ระดับความสุ่มที่ยอมรับได้ 85% และ 90% ตัวแบบของผู้สับไพ่เลือกการสับไพ่ส่วนล่างและมีความหนาของการสับไพ่แบบน้อย เป็นตัวแบบที่ดีที่สุดและมีจำนวนครั้งที่น้อยที่สุด คือ 10 ครั้ง และ 19 ครั้ง ตามลำดับ และสำหรับเกณฑ์ระดับความสุ่มที่ยอมรับได้ 95% นั้น ไม่มีตัวแบบ ที่ทำให้ไพ่มีระดับความสุ่มอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้เลย