DSpace Repository

การปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรในกระบวนการผลิตอิฐทนไฟ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมชาย พัวจินดาเนตร
dc.contributor.author รัฐกร อุดมสุข
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-11-27T03:45:45Z
dc.date.available 2013-11-27T03:45:45Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36734
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en_US
dc.description.abstract เพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรในกระบวนการผลิตของโรงงานผลิตอิฐทนไฟ ดำเนินการศึกษากิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอาการขัดข้องของเครื่องจักร และผลกระทบที่มีต่อกระบวนการผลิตในสายงานวิกฤติ (Critical activity path) ประเมินค่าดัชนีความเสี่ยงชี้นำ (RPN) โดยประยุกต์แนวทางการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ (Failure mode and effects analysis: FMEA) ได้แก่ ระดับความรุนแรง (S) ระดับอัตราการเกิดข้อขัดข้อง (O) และระดับความสามารถการตรวจจับ (D) อาการขัดข้องของเครื่องจักร ประเมินและจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยให้มีการทบทวน การออกแบบการทำงานของชิ้นส่วนใหม่ สำหรับอาการขัดข้องที่มีระดับความรุนแรง และระดับการตรวจจับที่มีค่าสูง ซึ่งมีผลให้ค่าดัชนีความเสี่ยงสูงด้วย นอกจากนี้ ยังได้มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจติดตามการทำงานของเครื่องจักร เพื่อสามารถประเมินอาการเครื่องจักรก่อนขัดข้อง ผลการศึกษาพบว่า (1) การจัดลำดับความสำคัญของเครื่องจักรในกระบวนการซ่อมบำรุงรักษา สามารถจัดได้ดังนี้ เครื่องอัดขึ้นรูป เครื่องผสม เครื่องชั่ง และเตาเผา ตามลำดับ (2) ระยะเวลาเฉลี่ยก่อนการเสียของเครื่องจักร (MTBF) ในสายงานวิกฤติเพิ่มขึ้นจากเดิม 94:18 ชั่วโมง เป็น 119:48 ชั่วโมง หรือคิดเป็น 27% (3) ผลจากค่า MTBF ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราการเดินเครื่องจักรเพิ่มขึ้น ดังนั้น ค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (Overall equipment effectiveness, OEE) ในสายงานวิกฤติ ได้แก่ เครื่องชั่ง เครื่องผสม เครื่องอัดขึ้นรูป และเตาเผา มีค่าเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ยอยู่ที่ 89.23% 85.25% 75.33% และ 82.13% ตามลำดับ เป็น 89.69% 88.07% 82.09% และ 86.27% ตามลำดับ en_US
dc.description.abstractalternative To increase the effectiveness of machines in refractory brick production process. The study was started with studying all related activities of the process, analyzing symptom of machine breakdown affecting to the critical activity path of the production process. The Failure mode and effects analysis (FMEA) was applied. The risk priority number (RPN) of machines was determined by considering the severity (S), occurrence (O), and detection (D). High severity (S) and detection (D) were first priority to improve. Redesigning an existing component for operation improvement and installing monitoring equipment for assessing machine operation before break down were implemented. The results showed that (1) the significant machines for maintenance were as press machine, mixer, weighting machine and kiln, respectively (2) the mean time between failure (MTBF) of machines in production line before improvement was increased from 94:18 Hr to 119:48 Hr or increased by 27%, (3) according to increasing of MTBF that lead to increase machine available time, the overall equipment effectiveness (OEE) of each machines within the critical path such as weighing, mixing, pressing and furnace were increased from 89.23% 85.25% 75.33% and 82.13% to 89.69% 88.07% 82.09% and 86.27%, respectively. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.176
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เครื่องจักรกล -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม en_US
dc.subject การบำรุงรักษาเชิงทวีผลโดยรวม en_US
dc.subject เครื่องมือในการอุตสาหกรรม en_US
dc.subject อิฐทนไฟ en_US
dc.subject การควบคุมคุณภาพ en_US
dc.subject ความเชื่อถือได้ (วิศวกรรมศาสตร์) en_US
dc.subject Machinery -- Maintenance and repair en_US
dc.subject Total productive maintenance en_US
dc.subject Industrial equipment en_US
dc.subject Bricks en_US
dc.subject Quality control en_US
dc.subject Reliability ‪(Engineering)‬ en_US
dc.title การปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรในกระบวนการผลิตอิฐทนไฟ en_US
dc.title.alternative The overall effectiveness improvement of machines in refractory brick production process en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline วิศวกรรมอุตสาหการ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Puajindanetr.Pua@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2010.176


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record