DSpace Repository

การใช้ตาข่ายชนิดยึดติดเนื้อเยื่อได้เองแก้ไขไส้เลื่อนข้างทวารหนักในสุนัข

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุมิตร ดุรงค์พงษ์ธร
dc.contributor.author วชิราพร กานิล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-12-03T15:59:20Z
dc.date.available 2013-12-03T15:59:20Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36774
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en_US
dc.description.abstract การศึกษาการแก้ไขไส้เลื่อนข้างทวารหนักในสุนัขโดยใช้ตาข่ายชนิดยึดตึดเนื้อเยื่อได้เอง โดยศึกษาในสุนัขที่มีภาวะไส้เลื่อนข้างทวารหนักที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 12 ตัว แก้ไขไส้เลื่อนจำนวน 13 ข้าง โดยสุนัขได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดแก้ไขไส้เลื่อนโดยการเย็บกล้ามเนื้อผนังเชิงกรานเข้าหากันด้วยไหมละลายจำนวน 2-4 ปม ก่อนวางตาข่ายชนิดยึดติดเนื้อเยื่อได้เองลงบนผนังเชิงกรานที่แก้ไขแล้ว สุนัขทุกตัวได้รับการรักษาต่อเนื่องทางอายุรกรรมโดยการให้ยาระบาย ร่วมกับการปรับอาหารเป็นอาหารกากใยสูงหลังการผ่าตัดแก้ไขไส้เลื่อน จากการติดตามผลการศึกษา 4 เดือน พบว่ามีอัตราการประสบความสำเร็จร้อยละ 91.67 เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการผ่าตัดแก้ไขเท่ากับ 57.92 นาที พบการกลับเป็นซ้ำของไส้เลื่อนข้างทวารหนัก 1 ข้างจากการแก้ไข 13 ข้าง ข้อแทรกซ้อนหลังผ่าตัดที่พบ ได้แก่ การปวดเบ่งอุจจาระและปัสสาวะชั่วคราวหลังการผ่าตัด (ร้อยละ 16.67 และ 8.33 ตามลำดับ) การอักเสบของแผลผ่าตัด (ร้อยละ 66.67) และการกลับมาเคลื่อนไหวตามปกติช้า (ร้อยละ 8.33) โดยไม่พบข้อแทรกซ้อนหลักอื่น ๆ จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าการใช้ตาข่ายชนิดยึดติดเนื้อเยื่อได้เองแม้จะมีข้อจำกัดในด้านราคา แต่ให้อัตราประสบความสำเร็จสูง ใช้เวลาผ่าตัดน้อย และมีข้อแทรกซ้อนหลังผ่าตัดน้อย จึงเป็นตัวเลือกหนึ่งเพื่อนำมาใช้แก้ไขเลื่อนข้างทวารหนักในสุนัขโดยเฉพาะในกรณีที่กล้ามเนื้อผนังเชิงกรานบางและช่องเปิดไส้เลื่อนมีขนาดใหญ่ และน่าจะให้ผลดียิ่งขึ้นเมื่อทำร่วมกับเทคนิคการย้ายตำแหน่งกล้ามเนื้ออินเทอร์นอลออบทูเรเตอร์ en_US
dc.description.abstractalternative A study investigated outcome of an application of self-gripping prosthetic mesh for perineal hernia correction in dogs. Twelve dogs, suffered from perineal hernia at Chulalongkorn University Small Animal Hospital, were surgically corrected of 13 perineal hernias by appositioning their pelvic diaphragm muscles with 2-4 stitches of absorbable suture and placing self-gripping mesh on top. All dogs were on laxative and high-fiber diet after herniorrhaphy. After 4 months follow up, success rate was 91.67%, average herniorrhaphy time was 57.92 minutes, and recurrent was found 1 from 13 hernias. No major complications were found. Minor complications were post-operative temporary dyschezia (16.67%), temporary stranguria (8.33%), inflammation of surgical wound (66.67%) and delay of returning to normal mobility (8.33%). From all of the results, besides high cost of self-gripping prosthetic mesh, it provided high success rate, shorten surgical time and lessen post-operative complications. The self-gripping prosthetic mesh may be a new alternative for perineal herniorrhaphy in dogs, especially in cases that pelvic diaphragm muscles were weak and large hernia rings. Moreover, it should be more satisfaction using the self-gripping prosthetic mesh with internal obturator transposition technique in perineal herniorrhaphy. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.762
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject สุนัข -- โรค en_US
dc.subject ไส้เลื่อน en_US
dc.subject Dogs -- Diseases en_US
dc.subject Hernia en_US
dc.title การใช้ตาข่ายชนิดยึดติดเนื้อเยื่อได้เองแก้ไขไส้เลื่อนข้างทวารหนักในสุนัข en_US
dc.title.alternative The use of self-gripping prosthetic mesh for perineal herniorrhaphy in dogs en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Sumit.D@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.762


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record