DSpace Repository

การส่งเสริมการย่อยสลายของสีรีแอกทีฟไดอะโซ โดยระบบฟิล์มชีวภาพแบบไร้อากาศและเติมอากาศ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศรัณย์ เตชะเสน
dc.contributor.author บัญชา บุญอนันต์วงศ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-12-06T14:02:09Z
dc.date.available 2013-12-06T14:02:09Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36982
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en_US
dc.description.abstract ศึกษาการบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์สีรีแอกทีฟแบล็ค 5 ที่ความเข้มข้น 100 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยใช้ระบบทางชีวภาพแบบถังกรองไร้อากาศตามด้วยถังโปรยกรอง เดินระบบแบบต่อเนื่องในระดับปฏิบัติการ ตัวกลางที่ใช้ในทั้งสองถังปฏิกิริยาเป็นตัวกลางพลาสติกแบบ Random flow โดยใช้น้ำตาลความเข้มข้น 500-20,000 มก/ล เป็นแหล่งพลังงานให้กับจุลินทรีย์และศึกษาการเวียนน้ำจากถังโปรยกรองกลับเข้าถังกรองไร้อากาศที่อัตรา 0.5-5.0 เท่า เพื่อศึกษาสภาวะในการบำบัดสีและค่าซีโอดีที่เหมาะสมที่สุด จากการทดลองพบว่า สีรีแอกทีฟแบล็ค 5 เกือบทั้งหมดลดลงในขั้นตอนไร้อากาศซึ่งเกิดขึ้นในช่วงการสร้างกรด (Acidogenesis) โดยที่น้ำตาลความเข้มข้น 500 มก/ล มีค่าเพียงพอที่ทำให้บำบัดสีได้อย่างมีประสิทธิภาพ (75.6%) และสามารถบำบัดค่าซีโอดี (91.5%) ได้จนผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง ผลการศึกษาพบว่า การลดลงของซีโอดีในถังกรองไร้อากาศเป็นปฏิกิริยาอันดับที่หนึ่ง โดยมีค่า k₁ คือ 0.311 ต่อวัน และการลดลงของซีโอดีในถังโปรยกรองเป็นปฏิกิริยาโมนอด โดยมีค่า km และ ks คือ 5.479 ± 0.726 กก/ลบ.ม/วัน และ 1.009 ± 0.339 กก./ลบ.ม ตามลำดับ ส่วนการลดลงของสีในถังกรองไร้อากาศเป็นปฏิกิริยาอันดับที่ศูนย์โดยมีค่าอัตราการบำบัดคือ 37 ± 1.5 มก/ล/วัน ผลการศึกษาการเวียนน้ำกลับเข้าถังกรองไร้อากาศพบว่า ไม่มีผลต่อการบำบัดสีและซีโอดีแต่สามารถลดการใช้ปริมาณด่างลงได้ถึง 53.3% ที่อัตราการเวียนน้ำ 5.0 เท่า ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่ากระบวนการทางชีวภาพแบบไร้อากาศ-เติมอากาศแบบมีตัวกลาง สามารถบำบัดสีและค่าซีโอดีที่ย่อยสลายยากได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอาจนำไปปรับใช้ในระดับโรงงานอุตสาหกรรมได้ en_US
dc.description.abstractalternative This research studied a biological process using anaerobic filter (AF) and trickling filter (TF), continuously treat a synthetic color wastewater having a Reactive Black 5 at 100 mg/L in lab scale reactors. Random flow plastic media was used in both reactors with sugar concentrations of 500-20,000 mg/L as an electron donor. Recirculation rate of 0.5-5.0 times from effluent to AF were also studied for the most appropriate condition in treating both color and COD. Results were found that most color was reduced during acidogenesis process in anaerobic treatment. Concentrations of COD 500 mg/L was enough for efficiently treating color (75.6%) and COD was reduced to meet disposal standards (91.5% removal). Reduction of COD in AF followed first-order kinetic, having k₁ of 0.311 d⁻¹, while reduction of COD in TF followed Monod’s kinetic, having km of 5.479 ± 0.726 kg/m³/d and ks of 1.009 ± 0.339 kg/m³ And reduction of color in AF was zero-order kinetic having removal rate of 37 ± 1.5 mg/l/d. Recirculation effluent to AF did not improve color and COD removal efficiency but can reduced alkalinity addition up to 53.3% at 5.0 times recirculation rate. Results showed that a biological anaerobic-aerobic process using attached growth reactors can treat color and recalcitrance COD effectively and could be adapted for industrial usage. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.769
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject สีย้อมเอโซ en_US
dc.subject สีย้อมรีแอคทีฟ en_US
dc.subject น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดสี en_US
dc.subject น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีทางชีวภาพ en_US
dc.subject Azo dyes en_US
dc.subject Reactive dyes en_US
dc.subject Sewage -- Purification -- Color removal en_US
dc.subject Sewage -- Purification -- Biological treatment en_US
dc.title การส่งเสริมการย่อยสลายของสีรีแอกทีฟไดอะโซ โดยระบบฟิล์มชีวภาพแบบไร้อากาศและเติมอากาศ en_US
dc.title.alternative Enhanced degradation of reactive diazo dyes by anaerobic-aerobic biofilm process en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor sarun.t@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.769


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record