DSpace Repository

ปัญหาทางกฎหมายในการหักกลบลบหนี้ : ศึกษากรณีธุรกิจธนาคารพาณิชย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรพรรณ พนัสพัฒนา
dc.contributor.advisor ธัชชัย ศุภผลศิริ
dc.contributor.author เอกสิทธิ์ จารุวัฒน์จีรังกร, 2521-
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2007-07-18T08:42:41Z
dc.date.available 2007-07-18T08:42:41Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9741744196
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3714
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการหักกลบลบหนี้ โดยเน้นศึกษากรณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งยังมีปัญหาในการใช้กฎหมายและการตีความอยู่หลายกรณี จากการศึกษาปัญหาต่างๆ พบว่า ลักษณะของสิทธิเรียกร้องที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้อาจแบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ มีการชำระหนี้ที่ขอหักกลบไปแล้ว หนี้ที่ขอหักกลบยังกำหนดจำนวนได้ไม่แน่นอน ไม่ได้เป็นหนี้ที่ขอหักกลบ และมีเหตุไม่ต้องชำระหนี้ที่ขอหักกลบ แต่ประเด็นนี้มักจะเกิดในชั้นศาลเพราะฝ่ายที่ขอหักกลบลบหนี้จะดำเนินการหักกลบลบหนี้ทั้งที่ยังมีข้อโต้แย้ง ส่วนฝ่ายที่เสียหายก็จะไปดำเนินคดีเพื่อขอให้ศาลเพิกถอนการหักกลบลบหนี้เป็นอีกส่วนหนึ่ง ส่วนการหักกลบลบหนี้ระหว่างพิจารณาคดีของศาล หากหนี้ที่ขอหักกลบลบหนี้ยังเป็นหนี้ที่มีข้อต่อสู้อยู่แนววินิจฉัยของศาลฎีกาส่วนใหญ่จะไม่ให้มีการหักกลบลบหนี้กัน การหักกลบลบหนี้ในชั้นบังคับคดีนั้น ปัจจุบันศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่อาจทำได้หากคำพิพากษากำหนดให้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองก่อนจะบังคับกับทรัพย์สินอื่น โดยโจทก์จะต้องบังคับคดีตามลำดับที่ศาลพิพากษาเท่านั้น สำหรับการหักกลบลบหนี้ภายหลังจากได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ส่งเงินฝากของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือคำสั่งอายัดและส่งเงินฝากของผู้มีภาษีอากรค้าง ศาลจะวินิจฉัยไปในทางที่ไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้ แต่ในส่วนของการหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลายและคดีฟื้นฟูกิจการ แนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกาจะให้หักกลบลบหนี้กันได้เป็นส่วนใหญ่เพราะมีบทบัญญัติของกฎหมายรองรับไว้โดยเฉพาะ นอกจากนี้การศึกษายังพบว่าในกรณีการแปลงหนี้เป็นทุนของบริษัทมหาชนที่สามารถหักกลบลบหนี้กับเงินค่าหุ้นได้นั้นจะเกิดปัญหาในกรณีที่ลูกหนี้มีเจ้าหนี้หลายรายเกี่ยวกับการกำหนดราคาหุ้นที่จะนำมาหักกลบลบหนี้ งานวิจัยนี้ได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาการหักกลบลบหนี้ในระหว่างพิจารณาคดีและระหว่างการบังคับคดีรวมถึงการหักกลบลบหนี้ของธนาคารพาณิชย์เมื่อได้รับหมายอายัดเงินฝากของลูกหนี้ โดยได้เสนอแนวทางการตีความกฎหมายเพื่อให้หลักกฎหมายว่าด้วยการหักกลบลบหนี้สามารถใช้ได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายฟื้นฟูกิจการให้มีความชัดเจนในการใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ และให้นำหลักกฎหมายเรื่องการแปลงหนี้เป็นทุนมาใช้กับกรณีของบริษัทจำกัดด้วย en
dc.description.abstractalternative The purpose of this thesis is to study provisions of law in relation to set-off, particularly those in relation to commercial banking business which involves a number of problems concerning interpretation and enforcement. The study reveals the following findings. Rights of claim against defense can be divided into four categories, namely, a debt which has already been paid off, a debt which is arguably uncertain, no existing debt to be set-off and a debt which is duly non-repayable. However, these issues normally arise in litigation because one party would have made the set-off even such set-off may still be in controversy and the injured party would file an action to nullify the set-off. As to the set-off during court proceedings, a precedent of the Supreme Court judgment indicates that a right of claim which involves an admissible defense can not be set-off. A set-off during execution stage is prohibited if the judgment specifies that mortgaged properties be enforced before other properties because the plaintiff has to foreclose the properties in sequence according to the judgment. With respect to the set-off after the receipt of the order of the Execution Officer to deliver the debtor's deposit money or the order of the Tax Officer to attach and deliver the deposit money of the tax debtor, the Court tends to rule not to allow the set-off. In case of the set-off in bankruptcy case or rehabilitation case, the Supreme Court tends to favor the set-off as such act is justified by relevant laws. The study also shows that the set-off against payment for shares in the case of conversion of debt to equity of a public company brings about some problems as to the setting of share price when there are several creditors involved. This study suggests guidelines to solve the problems concerning set-off during court proceedings, execution stage and the set-off by commercial banks after the receipt of attachment writ against the debtor's deposit by proposing the interpretation of laws in the way to make the set-off provisions more applicable. Moreover, the study recommends the amendment of rehabilitation law to make the provisions relating to the set-off more explicit and the application of regal principle in respect of conversion of debt to equity to the case of a company under the Civil and Commercial Code en
dc.format.extent 1994366 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1061
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การบรรเทาภาระหนี้ -- ไทย en
dc.subject หนี้ต่างประเทศ -- ไทย en
dc.subject การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ en
dc.subject ธนาคารพาณิชย์ -- ไทย en
dc.subject ล้มละลาย -- ไทย en
dc.subject กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- หนี้ en
dc.title ปัญหาทางกฎหมายในการหักกลบลบหนี้ : ศึกษากรณีธุรกิจธนาคารพาณิชย์ en
dc.title.alternative Legal problems of setting off : study of commercial banking business en
dc.type Thesis en
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2005.1061


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record