dc.contributor.advisor |
นันทวัฒน์ บรมานันท์ |
|
dc.contributor.author |
สุรัชนี พานำมา |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
|
dc.coverage.spatial |
ไทย |
|
dc.date.accessioned |
2013-12-18T09:32:48Z |
|
dc.date.available |
2013-12-18T09:32:48Z |
|
dc.date.issued |
2555 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37544 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
en_US |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงสภาพปัญหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจของคณะกรรมาธิการที่มีต่อฝ่ายบริหารเพื่อการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554 โดยได้ทำการศึกษาถึงแนวคิดที่มาของระบบคณะกรรมาธิการ สาระสำคัญของการใช้อำนาจออกคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการ ซึ่งมีรูปแบบและกระบวนการขั้นตอนของการใช้อำนาจเป็นการเฉพาะที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ อันอาจก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาจากการใช้อำนาจตามกฎหมายฉบับนี้
ผลจากการวิจัยพบว่า บทบาทการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการไทยในอดีตที่ผ่านมาประสบปัญหาอันเนื่องมาจากความไม่ชัดเจนของขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตน ประกอบกับโครงสร้างปัจจัยทางการเมือง ของฝ่ายบริหารมีอิทธิพลเหนือฝ่ายนิติบัญญัติอยู่มาก จึงส่งผลกระทบถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการมีภาวะอ่อนแอ ขาดระบบตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารตามความจำเป็น แม้รัฐสภามีการปรับปรุงแก้ไขอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการให้มีภารกิจที่ชัดเจน และสอดคล้องกับงานด้านการนิติบัญญัติมากขึ้นเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับรัฐสภาดังปรากฏในรัฐธรรมนูญอยู่ตลอดมา แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานของคณะกรรมาธิการด้านการสอบสวนตรวจสอบฝ่ายบริหาร พบว่ายังมีอุปสรรคปัญหาอันเนื่องมาจากการบังคับใช้อำนาจออกคำสั่งเรียกตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ไร้ซึ่งสภาพบังคับ ส่งผลให้ไม่ได้รับความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ต้องมาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือส่งเอกสาร คณะกรรมาธิการขาดการเข้าถึงข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน ดังนี้ จึงเป็นเหตุผลที่มาของการตราพระราชบัญญัติคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 ตามหลักการใหม่ของรัฐธรรมนูญแห่งราชจักรไทย พุทธศักราช 2550
พระราชบัญญัติคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554 แม้เป็นกฎหมายสำคัญที่สนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการให้มีอำนาจเข้าถึงข้อมูลข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการสอบสวนตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร แต่ในขณะเดียวกันกฎหมายฉบับนี้กลับกลายเป็นปัจจัยที่เอื้อให้การใช้อำนาจออกคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการกระทำได้อย่างกว้างขวาง อาจก่อเกิดผลกระทบที่ตามมาหลายประการ ทั้งสิทธิเสรีภาพของบุคคล หลักการขัดกันแห่งผลประโยชน์ รวมถึงผลกระทบต่อเสถียรภาพของฝ่ายบริหาร นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้อำนาจขาดการกลั่นกรองและตรวจสอบถ่วงดุลอย่างเพียงพอ รวมถึงมีปัญหาความซ้ำซ้อนของการใช้อำนาจดังกล่าว จึงสมควรปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This thesis presents a study of the legal problem in relation to the use of power of committee against the executive in order to control the public administration under the Request Order of the Committee of the House of Representatives and Senate Act, B.E. 2554.
On the basis of the results of this research, it can be concluded that the role of Thai committee in the past has confronted many problems as the result of the scope of their jurisdiction is unclear and the political structure of the executive is far more superior than the legislature. With this situation, it effects to the weak proficiency of the operation of the committee and it is lack of check-balance system to the use of power of the executive in necessary. Even through the parliament has modified the mission of the committee to be more explicit and correspondence to the legislation works in order to make the strong parliament as shown in the Constitution, the committee is still at pains to investigate and check up on the executive's operation. Because of the enforcement of the use of power of the committee to issue the request order under the provision of the Constitution is no sanction. This results related person is noncooperation to clarify facts or give relating documents. Therefore, the committee is unable to access the facts in all aspects. For this reason, it is the source of enact the Request Order of the Committee of the House of Representatives and Senate Act, B.E. 2554 in accordance with the new concept of the Thai Constitution, B.E. 2550.
Although The Request Order of the Committee of the House of Representatives and Senate Act, B.E. 2554 is an important law supporting the operation of the committee in relation to find facts, investigate and check up on the operation of the executive, this Act may become a factor of widen the power of the committee issuing the request order broadly. This may result in many consequences such as the freedom of individuals, the principal of conflicts of interest including effecting to the stability of the executive. Furthermore, the study found that the use of power of the committee is lack of sufficient screening and balance checking, this comprise with the problems of duplication and overlap. The author recommends further modification to the Act and related regulations to be more suitable. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1140 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
กฎหมายรัฐธรรมนูญ -- ไทย |
en_US |
dc.subject |
อำนาจนิติบัญญัติ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย |
en_US |
dc.subject |
อำนาจบริหาร -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย |
en_US |
dc.subject |
การแยกใช้อำนาจ |
en_US |
dc.subject |
ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารกับนิติบัญญัติ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย |
en_US |
dc.subject |
พระราชบัญญัติคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ.2554 |
en_US |
dc.subject |
Constitutional law -- Thailand |
en_US |
dc.subject |
Legislative power -- Law and legislation -- Thailand |
en_US |
dc.subject |
Executive power -- Law and legislation -- Thailand |
en_US |
dc.subject |
Separation of powers |
en_US |
dc.subject |
Executive-legislative relations -- Law and legislation -- Thailand |
en_US |
dc.subject |
Request Order of the Committee of The House of Representatives and The Senate Act B.E. 2554 |
en_US |
dc.title |
การควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารโดยฝ่ายนิติบัญญัติ : ศึกษากรณี พระราชบัญญัติคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ.2554 |
en_US |
dc.title.alternative |
Parliamentary oversight of the executive branch’s activities : a case study of the Request Order of the Committee of The House of Representatives and The Senate Act B.E. 2554 |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
นิติศาสตร์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
nantawat.b@chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2012.1140 |
|