DSpace Repository

คุณภาพชีวิตและการใช้แอลกอฮอล์ของคนงานก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor รัศมน กัลยาศิริ
dc.contributor.author ธนกฤต ชัยถวัลย์วงศ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.coverage.spatial กรุงเทพฯ
dc.date.accessioned 2013-12-19T02:55:51Z
dc.date.available 2013-12-19T02:55:51Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37547
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและการใช้แอลกอฮอล์ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้แอลกอฮอล์และคุณภาพชีวิต และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของคนงานก่อสร้าง ในเขตกรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัย การวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-Sectional Descriptive Study) กลุ่มตัวอย่าง คนงานก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 442 คน วิธีการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามปัจจัยด้าน การใช้แอลกอฮอล์ แบบคัดกรองปัญหาการดื่มสุรา และแบบวัดคุณภาพชีวิตวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติแบบ Chi-square, Independent-Samples T test, One-Way ANOVA และ Multiple Linear Regression Analysis ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 33 ปี ส่วนใหญ่แต่งงานแล้ว มาจากภาคอีสานเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า รายได้เฉลี่ยประมาณหนึ่งหมื่นบาท เกือบครึ่งหนึ่ง ทำงานมามากกว่า 2 ปี พบว่าส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 302 คน (ร้อยละ 68.3) เมื่อพิจารณาแบ่งคุณภาพชีวิตออกเป็น 4 ด้านย่อยๆ ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และ ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิต แต่ละด้านอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับคุณภาพชีวิตโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ อายุ ศาสนา การศึกษา ลักษณะครอบครัว การเคยใช้แอลกอฮอล์ ระยะเวลาการดื่ม ช่วงเวลาการดื่ม การดื่มเบียร์ ภูมิลำเนา อาชีพก่อนมาทำงานก่อสร้าง รายได้ ระยะเวลาที่ทำงานก่อสร้าง ประเภทงานก่อสร้างที่ทำ การดื่มเพื่อเข้าสังคม และการมีปัญหา การดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนปัจจัยที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิต ได้แก่ ภูมิลำเนา การศึกษา ลักษณะครอบครัว และการมีปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ โดยพบว่าภูมิลำเนาที่มาจาก ภาคกลาง และภาคตะวันออก เรียนจบตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนต้น หรือต่ำกว่า เป็นครอบครัวที่มีญาติคนอื่นอาศัยอยู่ร่วมด้วย และการดื่มแบบติด เหล่านี้จะมีคุณภาพชีวิตที่ลดต่ำลง สรุปผลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 442 คน ส่วนใหญ่ มีคุณภาพชีวิตในระดับปานกลาง โดยปัจจัยที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตได้แก่ ภูมิลำเนา การศึกษา ลักษณะครอบครัว และการมีปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ en_US
dc.description.abstractalternative Objective To study quality of life (QOL) and alcohol use, relationship between alcohol use and qualityof life and related factors in construction workers in Bangkok. Research design Cross sectional descriptive study Samples Four hundred and forty-two of construction workers in Bangkok Methods The instruments used in the study comprised of demographic and alcohol use questionnaire, Alcohol Use Disorders Identification Test (AUDIT) and WHOQOL-BREF-THAI. The data were analyzed by using descriptive statistics, Chi-square, Independent-Samples T test, One-Way ANOVA and Multiple Linear Regression Analysis. Results The majority of the samples were male, married and averaged age ~33 years. Most of the sample were from the North-Eastern part of Thailand, graduated from secondary school or below and averaged income of about ten thousand baht. Almost half of the sample worked as construction workers for more than two years. Of 442 construction workers, 302(68.3%) had moderate level of QOL. When dividing QOL into 4 domains, including physical, psychological, social and environment, most of the sample had moderate levels of QOL in every domains. Factors associated with overall QOL were sex, age, religion, type of family, alcohol ever use, drinking duration, drink of choice, previous occupation, income, work duration, types of construction work, reason for drinking and having drinking problem. Predicting factors for lower level of QOL were domicile (Central and Eastern part of Thailand), education (junior high school or lower), type of family (living with other relatives) and having alcohol dependence. Conclusions Among 442 subjects, most had moderate level of QOL. Factors associated with QOL weredomicile, education, type of family and problems of alcohol drinking. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1142
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject คุณภาพชีวิต en_US
dc.subject คนงานก่อสร้าง -- ไทย -- กรุงเทพฯ en_US
dc.subject คนงานก่อสร้าง -- การใช้แอลกอฮอล์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ en_US
dc.subject Quality of life en_US
dc.subject Construction workers -- Thailand -- Bangkok en_US
dc.subject Construction workers -- Alcohol use -- Thailand -- Bangkok en_US
dc.title คุณภาพชีวิตและการใช้แอลกอฮอล์ของคนงานก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร en_US
dc.title.alternative Quality of life and alcohol use in construction workers in Bangkok Metropolis en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สุขภาพจิต en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor rasmon.k@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2012.1142


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record