Abstract:
โครงการวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของการใช้ตัวกระตุ้นที่ผสมกันต่อการโคพอลิเมอร์ไรเซชันของเอทิลีนกับหนึ่งเฮกซีนด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาซีเกอร์-แนตตาที่มีซิลิกากับแมกนีเซียมคลอไรด์เป็นตัวรองรับ โดยมีรายละเอียดดังนี้ งานวิจัยนี้แสดงถึงผลของการผสมตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมบนเอทธิลีนพอลิเมอร์ไรเซชัน และเอทธิลีน/ 1-เฮกซีน โคพอลิเมอร์ไรเซชัน โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา ซิกเกลอร์แนทธาบนตัวรองรับ แมกนีเซียม/ซิลิก้า ลำดับที่หนึ่ง ตัวเร่งปฏิกิริยาซิกเกลอร์-แนทธาถูกเตรียมโดยการเติมซิลิก้า จากนั้นตัวเร่งปฏิกิริยาทำการทดสอบในปฏิกิริยาเอทธิลีน พอลิเมอร์ไรเซชัน และเอทธิลีน/ 1-เฮกซีน โคพอลิเมอร์ไรเซชัน โดยเปลี่ยนตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมที่ใช้ ไตรเอทธิลอลูมินัม (TEA), ไตร-เอ็น-เฮกซิลอลูมินัม (TnHA) ไดเอทธิลอลูมินัมคลอไรด์ (DEAC) และสารผสม TEA+DEAC, TEA+TnHA, TnHA+DEAC, TEA+DEAC+TnHA ถูกใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมในการศึกษานี้ จากการทดลองพบว่าในกรณีของเอทธิลีน พอลิเมอร์ไรเซชัน ตัวเร่งปฏิกิริยาร่วม TnHA แสดงค่าแอคทิวิตี้ที่สูงที่สุดเนื่องจากการเพิ่มขนาดของกลุ่มแอลคิล มากไปกว่านั้นการทดลองนี้ได้ทำการมุ่งความสนใจไปที่การผสมตัวเร่งปฏิกิริยาร่วม ค่าแอคทิวิตี้สามารถเพิ่มสูงขึ้นเป็นสามเท่าเมื่อใช้สารผสมของตัวเร่งปฏิกิริยาร่วม และแอคทิวิตี้ของเอทธิลีนพอลิเมอร์ไรเซชัน เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนตามลำดับดังนี้ TEA+DEAC+TnHA>TEA+DEAC>TEA+TnHA ทั้งค่าแอกทิวิตี้ของโคพอลิเมอร์ไรเซชัน และค่าความเป็นผลึกของดคพอลิเมอร์ที่ผลิตได้ เปลี่ยนแปลงอย่างมากเมื่อเปลี่ยนตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมจาก TEA เป็นสารผสม TEA+DEAC+TnHA หรือ TnHA และ DEAC สำหรับค่าแอกทิวิตี้ของ เอทธิลีน/ 1-เฮกซีน โคพอลิเมอร์ไรเซชัน มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนตามลำดับดังนี้ TEA+DEAC+TnHA>TEA+TnHA>TEA+DEAC>TnHA+DEAC>TEA>TnHA>DEAC เมื่อพิจารณาคุณสมบัติของโคพอลิเมอร์ที่ได้จากการผสมตัวเร่งปฏิกิริยาร่วม TEA+DEAC+TnHA พบว่าค่าความเป็นผลึกมีค่าลดลง เมื่อทำการผสม TnHA เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาร่วม เชื่อได้ว่าตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมมีอิทธิพลต่อโครงสร้างของโคพอลิเมอร์ การเพิ่มขึ้นของการกระจายตัวของน้ำหนักโมเลกุลพอลิเมอร์ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักของรูปร่างพอลิเมอร์