Abstract:
เชื้อเพลิงชีวภาพผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิงทางเลือก ที่มีประสิทธิผลต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตจากแป้งหรือน้ำตาลโดยตรง ขั้นตอนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การแปรสภาพวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นน้ำตาลที่ใช้ในกระบวนการหมักและการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากน้ำตาลที่ได้จากกระบวนการแปรสภาพวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ดังนั้นการปรับสภาพของวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อจำกัดปริมาณตัวยับยั้งเฮมิเซลลูโลสและลิกนิน มีนัยสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายเซลลูโลสของเอนไซม์ให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว จุดประสงค์หลักของงานวิจัยคือการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์โดยการปรับสภาพวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรโดยกรดเจือจาง ดังนั้นทางงานวิจัยใช้กรดซัลฟูริกเจือจางปรับสภาพวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรก่อนการย่อยสลายเซลลูโลสของเอนไซม์หลังจากการปรับสภาพของวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรโดยใช้กรดซัลฟูริกเจือจางภายใต้ภาวะที่เหมาะสม (120 องศาเซลเซียส, 5 นาที) ให้ผลผลิตน้ำตาล 24.73 กรัมต่อลิตร หลังจากการย่อยสลายด้วยเอนไซม์ให้ผลผลิตน้ำตาล 22.37 กรัมต่อลิตร สุดท้ายผลผลิตน้ำตาลทั้งหมดรวม 47.11 กรัมต่อลิตร ดังนั้นการปรับสภาพวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรโดยกรดซัลฟูริกเจือจางสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายเซลลูโลสของเอนไซม์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว และจากการศึกษาการผลิตบิวทานอลของเชื้อ C.beijerinckii TISTR1461 พบว่าภายใต้สภาวะไร้อากาศ พบว่าได้ปริมาณอะซิโตน บิวทานอล และเอทานอลรวม 20.58 กรัมต่อลิตร