Abstract:
วัตถุประสงค์ของการทดลองในห้องปฏิบัติการครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของสารปรับสภาพผิวเซอร์โคเนียสามชนิด ที่มีต่อค่ากำลังแรงยึดดึงของการเชื่อมติดระหว่างสารยึดเรซินและผิวหน้าเซอร์โคเนียที่ขัดเรียบ การศึกษานี้ได้ทำการเตรียมแผ่นเซอร์โคเนียขึ้นและเชื่อมติดกับแท่งเรซินคอมโพสิต โดยแบ่งชิ้นงานเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 15 ชิ้น โดยมีกลุ่มที่ไม่ได้ทำด้วยสารปรับสภาพผิว (NO) เป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองอีกสามกลุ่มใช้สารปรับสภาพผิวชนิดต่างกัน ดังนี้ Zirconia Liner (ZL) Metal/Zirconia Primer (MZ) และ Monobond Plus (MP) โดยชิ้นงาน 10 ชิ้นในแต่ละกลุ่มถูกเก็บไว้ในน้ากลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 72 ชั่วโมงและชิ้นงานที่เหลือ 5 ชิ้นได้ผ่านการทาเทอร์โมไซคลิงระหว่างอุณหภูมิ 5 และ 55 องศาเซลเซียสจำนวน 5,000 รอบ จากนั้นนำชิ้นงานทั้งหมดผ่านการทดสอบหาค่ากำลังแรงยึดดึง และทำการวัดมุมพื้นผิวของน้ำบนผิวเซอร์โคเนียเพื่อศึกษาผลของสารปรับสภาพผิวต่อการไหลแผ่ ค่ากำลังแรงยึดดึงของชิ้นงานที่เก็บในน้ำกลั่นเป็นเวลา 72 ชั่วโมง ของกลุ่มNO ZL MZ และ MP มีค่า1.96, 3.53, 3.81 และ 4.11 เมกกะปาสคาลตามลาดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ Two-way ANOVA Brown-Forsythe Tamhane’s Kruskal Wallis และ Conover-Inman test พบว่าสารปรับสภาพผิวในแต่ละกลุ่มสามารถเพิ่มค่ากำลังแรงยึดดึงอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยการทำเทอร์โมไซคลิงไม่ส่งผลต่อค่ากำลังแรงยึดดึง และเมื่อวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบสารยึดเรซินติดอยู่ที่ผิวของเซอร์โคเนีย ที่ได้รับการทำสารปรับสภาพผิวในลักษณะที่หนาสม่ำเสมอมากกว่า ผลการวัดมุมสัมผัสของน้ำบนพื้นผิวของเซอร์โคเนียพบว่า เซอร์โคเนียที่ผ่านการทำด้วยสารปรับสภาพผิวจะมีค่ามุมสัมผัสต่ำลงเมื่อเทียบกับผิวของเซอร์โคเนียปกติ ผลการศึกษานี้สรุปได้ว่าการใช้สารปรับสภาผิวเซอร์โคเนียเพียงอย่างเดียว ช่วยเพิ่มค่ากำลังแรงยึดดึงได้สูงกว่ากลุ่มควบคุม 1-2 เมกกะปาสกาลซึ่งไม่เพียงพอกับการนำมาใช้งานในทางคลินิก