DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างมุมของแนวไหล่กับแนวสะโพกขณะขึ้นไม้สุดสวิงและความเร็วหัวไม้กอล์ฟขณะกระทบลูก

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภาสกร วัธนธาดา
dc.contributor.advisor อรรถฤทธิ์ ศฤงคไพบูลย์
dc.contributor.author วิทพงศ์ สินสูงสุด
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2014-01-19T05:13:00Z
dc.date.available 2014-01-19T05:13:00Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38348
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en_US
dc.description.abstract กอล์ฟเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน เนื่องจากกอล์ฟสามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัย ผู้ฝึกสอนกอล์ฟส่วนใหญ่จะแนะนำให้นักกอล์ฟบิดลำตัวโดยสร้างมุมของแนวไหล่กับแนวสะโพกขณะขึ้นไม้สุดสวิงให้มากขึ้น เพื่อตีลูกได้ระยะทางที่ไกลขึ้น แต่ความเชื่อนี้ยังไม่ได้มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากความเร็วหัวไม้กอล์ฟเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของระยะทาง ดังนั้นการศึกษาวิจัยนี้จะหาความสัมพันธ์ระหว่างมุมของแนวไหล่กับแนวสะโพกขณะขึ้นไม้สุดสวิงและความเร็วหัวไม้กอล์ฟขณะกระทบลูก รวมทั้งการเคลื่อนไหวข้อต่างๆ ของร่างกายในขณะสวิงกอล์ฟ ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นนักกอล์ฟสมัครเล่น เพศชาย อายุ 18 ปีขึ้นไป มีแฮนดิแคปไม่เกิน 24 ตีวงขวา มีประสบการณ์ในการเล่นกอล์ฟไม่น้อยกว่า 1 ปี ไม่มีอาการบาดเจ็บขณะทำการวิจัย จำนวน 67 คน แบ่งกลุ่มตามแฮนดิแคปได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแฮนดิแดปต่ำ (0-12) จำนวน 28 คน กลุ่มแฮนดิแคปกลาง (13-18) จำนวน 20 คน และกลุ่มแฮนดิแคปสูง (19-24) จำนวน 19 คน จำลองสถานการณ์การตีกอล์ฟโดยนักกอล์ฟแต่ละคนตีตามวงสวิงปกติและวงสวิงที่ตีแรงเต็มที่ สถานการณ์ละ 5 ครั้ง ด้วยหัวไม้ 1 ของตนเอง ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลด้วยการบันทึกภาพโดยกล้องจับภาพสะท้อนแสงระบบดิจิตอลสามมิติ ที่ความเร็ว 500 ภาพต่อวินาที จำนวน 6 ตัว บนร่างกายของนักกอล์ฟติดตัวบอกตำแหน่งบริเวณข้อไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า และเท้าทั้งข้างซ้ายและขวา รวม 14 ตำแหน่ง ติดแถบเทปรอบลูกกอล์ฟ และที่หัวไม้ 1 บริเวณก้านไม้ 2 ตำแหน่ง ตำแหน่งแรกใกล้กริปและอีกตำแหน่งใกล้หัวไม้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้สรุปได้ว่า พบความสัมพันธ์ระหว่างมุมของแนวไหล่กับแนวสะโพกขณะขึ้นไม้สุดสวิงและความเร็วหัวไม้กอล์ฟขณะกระทบลูก ในการสวิงด้วยวงสวิงปกติอยู่ที่ระดับ 0.32 (p<0.05) และการสวิงด้วยวงสวิงที่ตีแรงเต็มที่อยู่ที่ระดับ 0.38 (p<0.05) ดังนั้นหากนักกอล์ฟสมัครเล่นต้องการตีให้ได้ระยะทางไกล ควรให้ความสำคัญกับการบิดลำตัวเพื่อสร้างมุมของแนวไหล่กับแนวสะโพกขณะขึ้นไม้สุดสวิงให้มากขึ้น แต่ไม่ควรตีแรงเต็มที่เนื่องจากระยะที่ได้ไม่มากนัก ที่จะทำให้การตีลูกในไม้ต่อไปด้วยไม้กอล์ฟที่สั้นลง รวมทั้งอาจควบคุมทิศทางยากขึ้นและมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บมากขึ้น en_US
dc.description.abstractalternative Golf is currently a popular sport because players range from young children to elderly of both genders. Most of golf instructors emphasize an increase in angle between shoulder axis and hip axis at top of backswing (x-factor) to lengthen ball driving distance. However, this hypothesis is not validated. Club head speed was the most important factor of ball driving distance. The experiment was to find the correlation between x-factor and golf club head speed at impact. Sixty-seven amateur male golfers participated. Criteria for subjects were right-handed golfers, at least 18 years old, handicap between 0 and 24, minimum one year of playing experience, and presently healthy. Subjects were classified as 28 of low handicap (0-12), 20 of middle handicap (13-18), and 19 of high handicap (19-24). Subjects performed 5 normal swings and 5 forceful swings using their own drivers. Golf swing motion was recorded by six optical digital cameras operated at 500 Hz. Reflective markers were attached to golfers at shoulder, elbow, wrist, hip, knee, ankle and foot on both sides. Markers were also wrapped around the golf ball, proximal and distal ends on the shaft of their drivers. The study showed mild relationship between x-factor and golf club head speed at impact. Correlation was 0.32 (p<0.05) and 0.38 (p<0.05) by normal swing and forceful swing respectively. It suggests that amateur golfers, who need longer driving distance, should increase x-factor. However, it is not recommended to swing forcefully because they will not gain enough distance to play next shot with shorter golf club. Forceful swing might decrease shot accuracy and increase risk of injury. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.548
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject นักกอล์ฟ en_US
dc.subject การเคลื่อนไหวของมนุษย์ en_US
dc.subject ข้อ -- สมบัติทางกล en_US
dc.subject ชีวกลศาสตร์ en_US
dc.subject Golfers en_US
dc.subject Human mechanics en_US
dc.subject Joints -- Mechanical properties en_US
dc.subject Biomechanics en_US
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างมุมของแนวไหล่กับแนวสะโพกขณะขึ้นไม้สุดสวิงและความเร็วหัวไม้กอล์ฟขณะกระทบลูก en_US
dc.title.alternative Relationship between x-factor and golf club head speed at impact en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เวชศาสตร์การกีฬา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.548


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record