DSpace Repository

การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์รหัสผ่านแบบรูปภาพโดยใช้การพิสูจน์ตัวตนแบบคำถามท้าทาย-ตอบสนอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธงชัย โรจน์กังสดาล
dc.contributor.author ยุวัฒน์ เชื้อสาธุชน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2014-02-24T03:26:33Z
dc.date.available 2014-02-24T03:26:33Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39493
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en_US
dc.description.abstract การพิสูจน์ตัวตนแบบรหัสผ่านเป็นสิ่งที่ใช้ในชีวิตประจำวัน แต่มีปัญหาเรื่องการจดจำ การพิสูจน์ตัวตนแบบรูปภาพจึงถูกนำมาใช้ เนื่องจากการศึกษาพบว่ามนุษย์สามารถจดจำรูปภาพได้ดีกว่าตัวอักษร การพิสูจน์ตัวตนแบบรูปภาพแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการพิสูจน์ตัวตนคือ เทคนิคการวิเคราะห์และเทคนิคการกระทำซ้ำ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นแบบเทคนิคการวิเคราะห์ ลักษณะของเทคนิคการวิเคราะห์คือผู้ใช้ต้องทำการวิเคราะห์และเลือกรูปภาพจากชุดรูปภาพให้ถูกต้อง โดยในแต่ละรอบของการพิสูจน์ตัวตน คำตอบที่ได้ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ของผู้ใช้ นอกจากนี้ในงานวิจัยยังใช้การพิสูจน์ตัวตนแบบคำถามท้าทาย-ตอบสนองร่วมด้วย ลักษณะการพิสูจน์ตัวตนแบบคำถามท้าทาย-ตอบสนองคือ มีการโต้ตอบกันระหว่างสองฝั่ง ฝั่งแรกทำการส่งคำถามท้าทาย ฝั่งที่สองต้องทำการตอบสนองให้ถูกต้อง สำหรับงานวิจัยนี้มีลักษณะการทำงานคือ ผู้ใช้ทำการลงทะเบียนเลือกคำสำคัญของตนเองจากฐานข้อมูล แต่ละคำประกอบไปด้วยภาพประจำคำสำคัญซึ่งมีลักษณะบ่งบอกถึงคำสำคัญนั้นประมาณ 4 รูป ในการพิสูจน์ตัวตน ซอฟต์แวร์ทำการสุ่มรูปภาพและคำถามท้าทายอย่างละ 1 ชุด ภายในรูปภาพสุ่มจะมีรูปภาพของผู้ใช้ปนอยู่ สิ่งที่ผู้ใช้ต้องทำคือ การเลือกรูปภาพจากชุดภาพสุ่มตามลักษณะของคำถามท้าทายให้ถูกต้อง การพิสูจน์ตัวตนจะเสร็จสมบูรณ์ en_US
dc.description.abstractalternative Password authentication is necessary in our life, but a lot of users have trouble memorizing passwords. Visual passwords come to solve this problem. According to research, human can remember image better than text. There are two techniques of visual passwords which are recognition-based and recall-based. This research is recognition-based where the user has to recognize his correct images in a set. For this type of authentication, the behavior is that the ordering of the authentication answer does not have to be the same in each trial. It depends on the user’s recognition. Challenge-response authentication is incorporated in this research. The behavior is the response between two parties: one challenge with a question and the other must respond with a correct answer. In this research, the authentication process starts with the user choosing and registering his keywords from the database. Each keyword consists of four images. Next, in the authentication phase, the software randomizes and creates an image set and challenges the user with a question for authentication. The image set contains both the user’s images and random images. The authentication completes when the user selects the correct image pattern with respect to the challenge question. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.516
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ซอฟต์แวร์ -- การพัฒนา en_US
dc.subject การพิสูจน์ตัวตน en_US
dc.subject วิทยาการรหัสลับ en_US
dc.subject การเข้ารหัสลับข้อมูล en_US
dc.subject Computer software -- Development en_US
dc.subject Authentication en_US
dc.subject Cyptography en_US
dc.subject Data encryption (Computer science) en_US
dc.title การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์รหัสผ่านแบบรูปภาพโดยใช้การพิสูจน์ตัวตนแบบคำถามท้าทาย-ตอบสนอง en_US
dc.title.alternative The design and development of visual password software using challenge-response authentication en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Thongchai.r@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.516


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record