Abstract:
กรณีการไม่ต้องการเข้าร่วมความคิดริเริ่มด้านความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาค(Regional Maritime Security Initiatives)ซึ่งเป็นความริเริ่มเพื่อปราบปรามการกระทำเยี่ยงโจรสลัดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น เหตุผลและจุดยืนของประเทศที่มีเอกลักษณ์ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของอินโดนีเซียและมาเลเซียต่างมีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศเพื่อปราบปรามโจรสลัดเนื่องดังกล่าว เนื่องจากอินโดนีเซียและมาเลเซียต้องเผชิญกับการกระทำเยี่ยงโจรสลัดที่รุนแรงในพื้นที่ทางทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั่วโลกต่างสนับสนุนความร่วมมือเพื่อปราบปรามการกระทำเยี่ยงโจรสลัด อย่างไรก็ตามอินโดนีเซียและมาเลเซียต่างไม่ต้องการให้ชาติมหาอำนาจใดเข้ามาแทรกแซง จึงสนใจศึกษาว่า เหตุผลทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมส่งผลต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศกรณีการปราบปรามโจรสลัดของประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซียอย่างไร โดยจะเปรียบเทียบระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซียเพื่อชี้ถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างของเหตุผลทางด้าน เศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของทั้งสองประเทศต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศที่ปฏิเสธการเข้าร่วมความคิดริเริ่มด้านความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาค(Regional Maritime Security Initiatives)โดยการศึกษาครั้งนี้จะทำให้เกิดความเข้าใจในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย นำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือกับต่างชาติเพื่อปราบปรามโจรสลัดในภูมิภาคนี้ต่อไป ในที่นี้การศึกษาเหตุผลทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งอยู่ในช่วงหลังอินโดนีเซียและมาเลเซียได้รับเอกราชเป็นต้นมา ว่ามีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายที่ไม่เข้าร่วมความคิดริเริ่มด้านความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาค(Regional Maritime Security Initiatives)ของรัฐสภาที่มีเสียงข้างมากของประเทศมาเลเซียในสมัยอับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี(Abdullah bin Haji Ahmad Badawi)ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2003 – 3 เมษายน ค.ศ. 2009 และกลุ่มที่มีอำนาจอิสระหลายกลุ่มในรัฐสภาประเทศอินโดนีเซียในสมัยเมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี(Megawati Soekarnoputr) ในช่วง 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 - 20 ตุลาคม ค.ศ. 2004