Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อหนังสือถึงผู้บริหารของลูกค้า (กรรมการตรวจสอบ กรรมการผู้จัดการ ผู้ทำบัญชี และผู้ตรวจสอบภายใน) และผู้สอบบัญชีในประเด็นที่เกี่ยวกับ ประเด็นที่ควรปรากฏในหนังสือถึงผู้บริหาร ประโยชน์ขงหนังสือถึงผู้บริหาร และแนวปฏิบัติในกระบวนการสื่อสารด้วยหนังสือถึงผู้บริหาร การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามชนิดเดียวกันในการสำรวจความเห็นของแต่ละกลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่ การใช้สถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติอ้างอิง (Kruskal-Wallis H Test และ Mann-Whitney U Test) การศึกษาครั้งนี้ได้พบว่า ประเด็นที่ควรปรากฏในหนังสือถึงผู้บริหาร ประกอบด้วย สิ่งที่พบในการตรวจสอบที่สำคัญ ทุจริตที่ผู้สอบบัญชีสามารถระบุได้ การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนด และจุดอ่อนในการควบคุมภายใน นอกจากนั้นผลการศึกษายังพบประเด็นที่มีความความเห็นแตกต่างกันมากระหว่างลูกค้าและผู้สอบบัญชี คือ ลูกค้าเห็นว่าผู้สอบบัญชีควรระบุว่าการเลือกใช้และการเปลี่ยนแปลนโยบายการบัญชีมีความสมเหตุสมผลหรือไม่ ในขณะที่ผู้สอบบัญชีเห็นว่าควรระบุเหตุผลของการยังไม่ได้แก้ไขข้อผิดพลาดที่พบจากการตรวจสอบบัญชีในครั้งก่อน ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีความแตกต่างในระดับที่มีสาระสำคัญ 0.05 ในส่วนของประโยชน์ของหนังสือถึงผู้บริหารพบว่า ลูกค้าเห็นว่ามีประโยชน์ในการช่วยคณะกรรมการตรวจสอบปรับปรุงระบบการควบคุมภายใน ในขณะที่ผู้สอบบัญชีเห็นว่ามีประโยชน์ในการช่วยเตือนให้ลูกค้าตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาที่ตรวจพบ นอกจากนั้นผลการศึกษายังพบว่า ลูกค้าเห็นว่าไม่ว่าประเด็นจะมีสาระสำคัญระดับใดก็ตามผู้สอบบัญชีควรระบุในหนังสือถึงผู้บริหาร และผู้สอบบัญชีควรรายงานประเด็นในเรื่องการกำกับดูแลที่ดีต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ขณะที่ประเด็จจุดอ่อนในการควบคุมภายในควรรายงานกรรมการผู้จัดการ และการรายงานที่ดีควรกระทำระหว่างการตรวจสอบหรือทันทีที่พบเหตุการณ์นั้น