DSpace Repository

การวิเคราะห์รูปแบบค่าใช้จ่ายในการบริโภคของครัวเรือนไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมประวิณ มันประเสริฐ
dc.contributor.author พรพิมล พันธ์พิมาย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.คณะเศรษฐศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2014-03-14T04:00:01Z
dc.date.available 2014-03-14T04:00:01Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40632
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริโภคสินค้าและบริการทั้ง 11 กลุ่มของครัวเรือนไทยอย่างเป็นระบบภายใต้แบบจำลอง Quadratic Almost Ideal Demand System: QUAIDS ของ Banks, Blundell and Lewbel (1997) โดยพิจารณาถึงปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ได้แก่ ภูมิภาค การครอบครองที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการบริโภค อายุ การศึกษา และสถานภาพการทำงานของหัวหน้าครัวเรือน รวมทั้งขนาดและโครงสร้างของครัวเรือน (จำนวนเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุในครัวเรือน) ที่แตกต่างกัน เพื่อคำนวณหาค่า Equivalence scales ของครัวเรือนอ้างอิง (ครัวเรือนที่มีผู้ใหญ่ 1 คน) โดยใช้ในการถ่วงน้ำหนักจำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุแตกต่างกันเพื่อให้ทราบถึงระดับการบริโภคในแต่ละกลุ่มอายุ ตลอดจนการคำนวณค่าความยืดหยุ่นต่อค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในสินค้าและบริการทั้ง 11 กลุ่มที่แตกต่างกันตามลักษณะเฉพาะของครัวเรือน โดยอาศัยข้อมูลจากรายงานการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2547 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนมีอิทธิพลในการกำหนดรูปแบบการบริโภคของครัวเรือนในสินค้าและบริการทั้ง 11 กลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อคำนวณค่าความยืดหยุ่นต่อค่าใช้จ่ายเฉลี่ยทั้งหมดของครัวเรือนพบว่าสินค้าจำเป็นในสายตาของครัวเรือนไทยได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ (ทั้งบริโภคในบ้านและนอกบ้าน) เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาสูบ ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล และที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ภายในบ้าน ส่วนสินค้าฟุ่มเฟือยในสายตาของครัวเรือนไทย ได้แก่ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ค่าตรวจรักษาพยาบาลและค่ายา การเดินทางและการสื่อสาร การบันเทิงและการอ่าน การศึกษา และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด นอกจากนั้นผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า ขนาดและโครงสร้างของครัวเรือนเป็นปัจจัยสำคัญในการศึกษารูปแบบค่าใช้จ่ายในการบริโภคของครัวเรือน เนื่องจากค่า Equivalence scales ของสมาชิกครัวเรือน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเด็ก (0 – 14 ปี) กลุ่มผู้ใหญ่ (15 – 59 ปี) และกลุ่มผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) มีค่าแตกต่างกัน โดยกลุ่มผู้ใหญ่มีค่าสูงสุดเท่ากับ 0.2245 รองลงมาคือ กลุ่มเด็ก มีค่าเท่ากับ 0.1923 และกลุ่มผู้สูงอายุมีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 0.1700 en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this study is to clarify the pattern of consumption expenditure of 11 goods and service groups by applying with Quadratic Almost Ideal Demand System (QUAIDS) by Banks, Blundell and Lewbel (1997), also consider on household characteristics such as region, tenure, consumption expenditure and head of household characteristic such as ages, education and work status , including the differences in size and structure of each household (number of children, adults, and the elderly ), which are the main factors in determining an “Equivalence Scales” for each targeted household (one adult per one household) and use amount of each household member in order to find out the consumption level in each age group and income elasticity for 11 consumer goods and service groups based on Thai Socio – Economic Survey (SES) in 20004 by National Statistical Official. According to the result, it indicates the household characteristics are statistic significant in terms of figuring household consumption pattern. Furthermore, the income elasticity of the household illustrates that food and non-alcoholic beverages (both at-home and out-of-home consumption), alcoholic beverage and tobaccos, personal expenses, housing and household operations are normal goods. In terms of luxury goods, they consist of clothing and footwear, medical services, transportation and communication, entertainment and reading, education, and miscellaneous expenses. Moreover, the result shows that size and structure of household are statistic significant factors, in order to study the difference of household consumption pattern because of the differences of consumption level in each household members’ age group. According to the result of the Equivalence Scales in three age groups are different as an adult (15-59 years) has the highest scale equal to 0.2245, a child (0 – 14 years) is equal to 0.1923 and the elderly has the lowest scale equal to 0.1700. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1219
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ครอบครัว -- ไทย en_US
dc.subject ครอบครัว -- ค่าใช้จ่าย en_US
dc.subject ค่าครองชีพและมาตรฐานการครองชีพ -- ไทย en_US
dc.subject บริโภคกรรม (เศรษฐศาสตร์) en_US
dc.subject Households -- Thailand en_US
dc.subject Consumption (Economics) en_US
dc.subject Cost and standard of living -- Thailand en_US
dc.title การวิเคราะห์รูปแบบค่าใช้จ่ายในการบริโภคของครัวเรือนไทย en_US
dc.title.alternative An analysis of consumption expenditure of Thai household en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor somprawin@yahoo.com
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.1219


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record