DSpace Repository

ปัจจัยต่อความเชื่อมั่นและความไว้วางใจในองค์กรตรวจสอบกันเอง ของผู้ประกอบวิชาชีพนักหนังสือพิมพ์และกลุ่มผู้บริโภคสื่อ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุกัญญา สุดบรรทัด
dc.contributor.author กวี อุรัสยะนันทน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2014-03-17T09:53:09Z
dc.date.available 2014-03-17T09:53:09Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.isbn 9743336567
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41013
dc.description วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 en_US
dc.description.abstract ศึกษากลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพนักหนังสือพิมพ์และกลุ่มผู้บริโภคสื่อ เกี่ยวกับทัศนะการจัดตั้งองค์กรตรวจสอบกันเอง ที่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบเพื่อสร้างความเชื่อมั่น และไว้วางใจต่อสาธารณะชน ศึกษากลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพนักหนังสือพิมพ์และกลุ่มผู้บริโภคสื่อ ที่มีพื้นฐานการศึกษา สถานะภาพทางสังคมที่เป็นฐานข้อมูล ในการสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจต่อองค์กรตรวจสอบกันเอง และศึกษาองค์กรตรวจสอบกันเองที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2540 ภายใต้ชื่อ "สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ" ในแง่ของปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยอุปสรรค อาทิ สัดส่วนของคณะกรรมการ กฎระเบียบ กลไกการควบคุมกันเอง และความสัมพันธ์ของผู้ประกอบวิชาชีพ ในการสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจในการตรวจสอบกันเอง ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของสถานภาพของกลุ่มผู่ประกอบวิชาชีพนักหนังสือพิมพ์ มีบทบาทสำคัญในการแสดง ทัศนะที่มีต่อสภาการหนังสือพิมพ์ ส่วนการศึกษาไม่มีอิทธิพลต่อการแสดงทัศนะในประเด็นดังกล่าว ส่วนกลุ่มผู้บริโภคข่าวสารที่มีบทบาทต่อการแสดงทัศนะสภาการหนังสือพิมพ์ คือการศึกษาและสถานภาพที่ดำรงอยู่ในขณะนั้น ซึ่งในทัศนะของกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพทั้ง 6 กลุ่ม มีทัศนะเกี่ยวกับองค์กรตรวจสอบกันเองอยู่ 2 ประเด็น คือ ประเด็นที่หนึ่งผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องอยู่ในบรรทัดฐานทางจริยธรรมเดียวกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะต้องเกิดจากความร่วมมือของผู้ประกอบวิชาชีพในการละเมิดกฎจริยธรรม ประเด็นที่สองผู้อ่านมีบทบาทสำคัญในการกำหนดเนื้อหาสาระ ของผู้ประกอบวิชาชีพได้ ดังนั้น ผู้อ่านจะต้องเปลี่ยนแปลงการอ่านหนังสือพิมพ์ที่มีเนื้อหาสาระ แต่สำหรับผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังมีบางกลุ่มที่ต้องการอ่านหนังสือพิมพ์ ที่ละเมิดทางจริยธรรมอย่างสูงเหมือนกัน ส่วนกลุ่มผู้บริโภคข่าวสารมองอยู่เพียงประเด็นเดียวคือ สภาการหนังสือพิมพ์จะเป็นที่พึ่งของประชาชนได้มากน้อยเพียงไหน ก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพทางการทำงานและกฎระเบียบที่ทางผู้ประกอบวิชาชีพ จะมีมาตรการในการสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจได้อย่างไร ในส่วนของความเชื่อมั่นและไว้วางใจของกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพนักหนังสือพิมพ์มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจมากกว่ากลุ่มผู้บริโภคข่าวสาร ส่วนปัจจัยสนับสนุนในการสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจ ขึ้นอยู่กับหลายประเด็น ได้แก่ ปัจจัยในการควบคุมตนเอง ปัจจัยทางศีลธรรมและสังคม ปัจจัยในการรับเรื่องร้องทุกข์ กลั่นกรอง ตรวจสอบและแจ้งข่าวสารซึ่ง ประเด็นดังกล่าว จะเป็นปัจจัยสนับสนุนสภาการหนังสือพิมพ์ในการปฏิบัติงาน ส่วนปัจจัยอุปสรรคทั่วไป ได้แก่ ปัจจัยค่านิยมเกี่ยวกับ "แมลงวันไม่ตอมแมลงวัน" ปัจจัยระบบนายทุน ปัจจัยอำนาจทางการเมือง ปัจจัยมาตรการทางกฎหมาย ปัจจัยการควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพนักหนังสือพิมพ์ในส่วนท้องถิ่น ส่วนปัจจัยอุปสรรคในธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์ ได่แก่ ปัจจัยจำนวนสัดส่วน ปัจจัยระบบอุปถัมภ์ ปัจจัยระบบปัจเจกชน ปัจจัยการขาดจิตสำนึกทางด้านจริยธรรม ปัจจัยจริยธรรมเป็นเพียงแค่อุดมการณ์ของวิชาชีพเท่านั้น en_US
dc.description.abstractalternative Studing the supporting and obstructing factors to credibility and trust towards self-regulation organization of journalism professionals and media consumers. The objectives of the research are 1) to examine the opinions of Journalism professionals and media consumers towards the establishment of self-regulation organization with effeciency in regulation in order to create credibliity and trust in the public 2) to examine Journalism professionals and media consumers whose educational background and social status serve as database in creating crediblity and trust towards self-regulation organization established in 1997 under the name National Journalism Council" in terms of the supporting and obstructing factors, such as the proportion of committee member, the code and regulation, the mechanism for self-regulation and the relationship of Journalism professionals towards credibility and trust in self-regulation. The findings of the research are as follow. The components of Journalism professionals status play an important role in their expession of viewpoint towards the National Journalism Council. As for the media consumers, their education and present status are important components. The 6 group of journalism professionals view the role of self-regulation organization in 2 aspects. Firstly, Journalism professional must maintain the same ethical norms in order to create credibility and trust in their operation. As a group, they must also uphold proper ethics in their conduct. Secondly, the readers play an important role in determining the quality of Journalism professionals. Therefore, they must alter their reading habits that aim for increased quality. The media consumers, on the other hand, are concerned with only one issue, that is, the extent to which the National Journalism Council can be reliable to the public depends on the efficiency and regulations set up by Journalism professionals in order to creats credibility and trust in the public. In terms of the credibility and trust, Journalism professionals get more credibility and trust than media consumers. The supporting factors to credibility and trust depend upon 1) the same ethical norm 2) the role in self-regulation 3) the role in promoting freedom under ethical framework 4) the role in undertaking complaints. The obstructing factors include 1) the value concerning the saying : Flies do not swarm flies 2) the pressure of capitalist system 3) state interference 4) local Journalism professional 5) the National Journalism Council committee members 6) peer group influence 7) egoistic factor 8) readers' failure to audit the newspapers 9) ethics as more ideals 10) sincerity of Journalism professionals in solving problems. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.321
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject Mass media en_US
dc.subject Newspapers en_US
dc.subject Reliability en_US
dc.subject Journalists ethics en_US
dc.subject สื่อมวลชน en_US
dc.subject หนังสือพิมพ์ en_US
dc.subject จรรยาบรรณนักหนังสือพิมพ์ en_US
dc.subject ความเชื่อถือได้ en_US
dc.title ปัจจัยต่อความเชื่อมั่นและความไว้วางใจในองค์กรตรวจสอบกันเอง ของผู้ประกอบวิชาชีพนักหนังสือพิมพ์และกลุ่มผู้บริโภคสื่อ en_US
dc.title.alternative Factors to credibility and trust towards self-regulation organization of journalism professionals and media consumers en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การหนังสือพิมพ์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Sukanya.S@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.1999.321


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record