Abstract:
การศึกษาเรื่อง “การประเมินผลนโยบายการจัดการการผลิตและการตลาดหอมแดงภายใต้ยุคการค้าเสรีในจังหวัดศรีสะเกษ ปีเพาะปลูก 2546/47-2548/49” มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลสำเร็จของนโยบายดังกล่าวหลังจากที่ประเทศไทยเริ่มมีการเปิดเสรีการค้ากับหลายประเทศ ค้นหาปัจจัยแห่งความสำคัญและความล้มเหลวของนโยบายฯ และนำข้อค้นพบไปสู่การสร้างข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์เพื่อการปรับตัวของนโยบายฯภายใต้ยุคการเค้าเสรี ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 770 ครัวเรือน 44 หมู่บ้าน โดยเก็บข้อมูลทั้งจากการแจกแบบสอบถามครัวเรือน สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างผู้นำหมู่บ้าน สัมภาษณ์เชิงลึกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง สังเกตและบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย/โครงการ/งานตามแบบตรวจสอบรายการ ซึ่งใช้สถิติ คือ จำนวนนับ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สัดส่วน ไคสแควร์ คาเมอร์ส วี เท่าบีและเทาซีควบคู่กับหลักเหตุผลในการวิเคราะห์ข้อมูล อนึ่ง กำหนดกลุ่มปัจจัยในการศึกษาประกอบไปด้วยปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำ คือปัจจัยด้านโครงการ/งานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และปัจจัยในการศึกษาประกอบไปด้วยปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำ คือ ปัจจัยด้านโครงการ/งานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และปัจจัยแวดล้อม คือ ปัจจัยด้านกลุ่มเป้าหมาย (ชุมชนและครัวเรือน) ผลการศึกษาพบว่านโยบายไม่สามารถทำให้ผลผลิตโดยภาพรวมมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ไม่สามารถลดต้นทุนการผลิตจากที่ต้นทุนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจะสอดรับภาวะเงินเฟ้อ ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าของผลผลิตในมิติราคาขายที่เกษตรกรได้รับเมื่อราคาขายเทียบกับภาวะเงินเฟ้อนั้นถือว่าลดลง และไม่สามารถสร้างความสมดุลของความต้องการซื้อและความต้องการขายผลิตในตลาดในพื้นที่สะท้อนได้จากความผันผวนของราคาแต่สามารถลดการเป็นหนี้นอกระบบรวมถึงหนี้ที่เกิดกำลังจะใช้คือนของเกษตรกรส่วนใหญ่ลงได้ (53.1% และ 53% ตามลำดับ) ส่วนปัจจัยแห่งความสำเร็จและความล้มเหลวของนโยบายฯ ที่สำคัญที่สุดนั้น คือ ปัจจัยแวดล้อมที่อิงกับพื้นที่หรือวิถีการผลิตและการตลาดแบบต่าง ๆ อาทิ ภูมิประเทศ ลักษณะดินและการปลูกพืชอย่างอื่นคู่ขนานหอมแดง ทั้งนี้ ปัจจัยที่เอื้อต่อการสร้างความยั่งยืนนำไปสู่การบรรลุผลระดับนโยบายที่สำคัญได้หลายประการ อาทิ การรวมกลุ่มและการเน้นเศรษฐกิจภายในชุมชน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ได้จากการศึกษานั้นเสนอให้ภาครัฐมีนโยบายทั้งในลักษณะภาพรวมและเฉพาะพื้นที่ซึ่งมุ่งสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันบทความเสียเปรียบเชิงเปรียบเทียบ อาทิ ด้วยการรื้อฟื้นคณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบนโยบายนี้โดยเฉพาะในระดับจังหวัดขึ้นมาอีกครั้ง และผลักดันให้เกิดการซื้อขายล่วงหน้ารวมถึงอุตสาหกรรมกรแปรรูปน้ำพริกเผา พร้อมทั้งหนุนสร้างและหนุนเสริมวิถีแบบพึ่งตนเองให้กับกลุ่มเป้าหมาย อาทิ หนุนสร้างการผลิตปุ๋ย/ยาฉีดใช้เองในชุมชนและครัวเรือน และหนุนเสริมการแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างสหกรณ์