DSpace Repository

การศึกษาเปรียบเทียบพุทธิปัญญาของพนักงานที่สัมผัสและพนักงานที่ไม่ได้สัมผัสกับสารทำละลายอินทรีย์ผสมในเขตจังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุนทร ศุภพงษ์
dc.contributor.author ชนนท์ กองกมล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2014-03-23T04:30:00Z
dc.date.available 2014-03-23T04:30:00Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41642
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en_US
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบพุทธิปัญญาของพนักงานที่สัมผัสและพนักงานที่ไม่ได้สัมผัสกับสารทำละลายอินทรีย์ผสม และเพื่อศึกษาถึงปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยจากการทำงาน ที่สัมพันธ์กับพุทธิปัญญาของพนักงานที่สัมผัสกับสารทำละลายอินทรีย์ผสม ในโรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ กับพนักงานที่ไม่ได้สัมผัสกับสารทำละลายอินทรีย์ผสม ในโรงานน้ำดื่ม ในเขตจังหวัดสมุทรปราการโดยใช้รูปแบบการศึกษาเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานโรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้จำนวน 134 คน และโรงงานน้ำดื่มจำนวน 136 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ให้พนักงานตอบด้วยตนเอง และตรวจด้วยแบบทดสอบประสาทจิตวิทยาโดยนักจิตวิทยาคลินิก ผลการศึกษาพบว่า คะนน Digit Span Test, Verbal Paired Associates I Test, Digit Symbol Substitution Test และ Similarities Test ของพนักงานที่สัมผัสสารทำละลายอินทรีย์ผสมในโรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้และพนักงานที่ไม่ได้สัมผัสสารทำละลายอินทรีย์ผสมในโรงงานน้ำดื่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.06, P = 0.01 P = 0.03 และ P = 0.02 ตามลำดับ) เมื่อนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยเชิงพหุ พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคะแนนด้าน Digit Span Test ได้แก่ อายุ การสัมผัสสารทำละลายอินทรีย์ผสม และจำนวนชั่วโมงทำงานในแต่ละวัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001, P < 0.01 และ P < 0.05 ตามลำดับ) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคะแนนด้าน Digit Symbol Substitution Test ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด-มัธยมปลายหรือเทียบเท่า รายได้ต่อเดือน และการสัมผัสสารทำละลายในโรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001, P < 0.001, P < 0.01 และ P < 0.01 ตามลำดับ) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคะนนด้าน Similarities Test ได้แก่ อายุ รายได้ การสัมผัสสารทำละลายอินทรีย์ผสม และระดับการศึกษาสูงสุด-มัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001, P < 0.01, P < 0.01 และ P < 0.05 ตามลำดับ) เมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยเชิงพหุ และได้ควบคุมปัจจัยอิสระตัวอื่นที่มีนัยสำคัญทางสถิติ พบว่าคะแนนด้าน Digit Span Test, Digit Symbol Substitution Test และ Similarities Test มีความแตกต่างระหว่างพนักงานที่สัมผัสสารทำละลายอินทรีย์ผสมโรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้และพนักงานที่ไม่ได้สัมผัสสารทำละลายอินทรีย์ผสมในโรงงานน้ำดื่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นแบบทดสอบทางประสาทจิตวิทยา ด้าน Digit Span Test, Digit Symbol Substitution Test และ Similarities Test จึงมีประโยชน์ในการตรวจพบความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางจากการสัมผัสสารทำละลายอินทรีย์ ในความเข้มข้นต่ำเป็นเวลานาน ในขณะที่พนักงานมีอาการไม่รุนแรง และการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อระบบประสาทอย่างถาวรต่อไป
dc.description.abstractalternative This cross-sectional analytic study aimed to study and compare cognitive functions between workers exposed and workers not exposed to mixed organic solvents and study the correlations between neurobehavioral test and personal factors in Samut Prakan Province. The study was conducte among 134 workers in wood furniture factories and 136 workers in drinking water factories. Data were collected by using self-administered questionnaires and neurobehavioral test examination by clinical psychologist. Results showed that exposure to organic solvents have association with Digit Span Test, Verbal Paired Associates I Test, Digit Symbol Substitution Test and Similarities Test. (P = 0.06, P = 0.01, P = 0.03 and P = 0.02, respectively) Multiple regression analysis showed that Digit Span Test was associated with age, current exposure to organic solvents and working hours (P < 0.001, P < 0.01 and P < 0.05 respectively). Digit Symbol Substitution Test was associated with age, education, income and current exposure to organic solvents (P < 0.001, P < 0.001, P < 0.01 and P < 0.01, respectively). In addition Similarities Test was associated with age, income current exposure to organic solvents and education (P < 0.001, P < 0.01, P < 0.01 and P < 0.05 respectively) In conclusion, these finding suggest that there are significant relationships between neurobehavioral tests (Digit Span Test, Digit Symbol Substitution Test, and Similarities test) and present exposure to organic solvents. The author recommends that using neurobehavioral tests, such as Digit Span Test, Digit Symbol Substitution Test and Similarities Test, give advantage to early detection of effects from chronic low-level organic solvents exposure leading to early detection and prompt treatment, thus preventing worker from permanent central nervous system damage.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.231
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title การศึกษาเปรียบเทียบพุทธิปัญญาของพนักงานที่สัมผัสและพนักงานที่ไม่ได้สัมผัสกับสารทำละลายอินทรีย์ผสมในเขตจังหวัดสมุทรปราการ en_US
dc.title.alternative Comparative study of cognitive functions between workers exposed and workers not exposed to mixed organic solvents in Samut Prakan province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline อาชีวเวชศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.231


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record