dc.contributor.advisor |
แมนสรวง อักษรนุกิจ |
|
dc.contributor.author |
ณัฐวุฒิ คุตตะเทพ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2014-03-23T04:33:08Z |
|
dc.date.available |
2014-03-23T04:33:08Z |
|
dc.date.issued |
2549 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41649 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
en_US |
dc.description.abstract |
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงปัจจัยด้านความเป็นกรดด่างของสารละลายไซเลน และปัจจัยด้านเวลารอให้สารละลายไซเลนแห้ง ต่อการยึดติดระหว่างซีฟันปลอมอะคริลิกและฐานฟันปลอมอะคริลิกชนิดบ่มด้วยความร้อน ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ซี่ฟันปลอมกรามน้อยยี่ห้อเมเจอร์เดนท์ขนาดใหญ่ที่สุดจำนวน 120 ซี่ นำมาตัดและขัดส่วนด้านประชิดเหงือกให้เรียบ นำมายึดติดกับขี้ผึ้งและลงเบ้าหล่อด้วยปูนปลาสเตอร์ แบ่งการทดลองออกเป็น 10 กลุ่ม ๆ ละ 12 ซี่ แบ่งการศึกษาเป็นสองส่วน โดยส่วนแรกประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ กลุ่มไม่ทาสารละลายไซเลน กลุ่มทาสารละลายไซเลนความเข้มข้น 0.1 โมลาร์ที่มีความเป็นกรดด่าง 5.5 และ 4 ตามลำดับ ส่วนที่สองประกอบด้วย 7 กลุ่มแบ่งตามระยะเวลาที่รอให้สารละลายไซเลนแห้ง คือ กลุ่มรอ 5 นาที, 1, 2, 3, 12, 24 ชั่วโมง และ 14 วัน นำมาอัดอะคริลิก และนำมาเตรียมเป็นรูปมินิดัมเบลล์โดยที่รอยต่อมีพื้นที่หน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 2 X 3 มิลลิเมตร นำมาทดสอบกำลังยึดแบบดึงด้วยเครื่องทดสอบแรงดึงแรงอัดระบบไฮโดรลิก (Instron, 8872) ความเร็วหัวกด 1 มม./นาที วิเคราะห์ผลการทดลองทางสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบเชิงซ้อน พบว่า ค่าความเป็นกรดด่างของสารละลายไซเลนเท่ากับ 5.5 ให้กำลังยึดแบบดึงสูงกว่าค่าความเป็นกรดด่าง 4 และกลุ่มที่ไม่ได้รับการทาไซเลนอย่างมีนัยสำคัญ (p > 0.05) เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยด้านเวลารอให้สารละลายไซเลนแห้ง พบว่ามีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญของเวลารอให้สารละลายไซเลนแห้ง 5 นาที, 1, 2, 3, 12, 24 ชั่วโมง และทั้ง 6 กลุ่มมีค่ากำลังยึดแบบดึงสูงกว่ากลุ่ม 14 วันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) |
|
dc.description.abstractalternative |
The aim of this study was to evaluate pH of silane solution and drying time on tensile bond strength between silane modified acrylic denture teeth and heat-cured denture base resin. MajorDentTM acrylic denture teeth were cut, polished on the ridge lap and invested in plaster mold. After dewaxing, the teeth were divided into 10 groups (N=12). The experiment consisted of 2 parts: pH and drying time. The 0.1M of γ- methacryloxypropyl trimethoxysilane solution was prepared at pH 4 and 5.5 and non-treated group were evaluated in the first part. In part II, drying time at 5 minutes, 1, 2, 3, 12, 24 hours and 14 days after silane application were examined. All samples were prepared according to the conventional denture fabrication procedures and later cut into mini-dumbbell shape with 2 X 3 mm. at the slimmest part. All specimens were incubated in 37 ℃ distilled water for 24 hours before testing. All test were performed on Universal testing machine (Instron, Model 8872) with cross head-speed of 1 mm./min. The results, analyzed by 1-way ANOVA and multiple comparison, revealed that the silane (pH = 5.5) treated group had higher tensile bond strength than the others (p<0.05). For the effect of drying time, there were no significant differences among the drying times at 5 minutes, 1, 2, 3, 12, 24 hours while the 14 days group demonstrated dramatically less strength than the others (p<0.05). |
|
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.240 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.title |
ผลของความเป็นกรดด่างของสารละลายไซเลนและระยะเวลารอให้สารละลายแห้งต่อการยึดติดระหว่างซี่ฟันปลอมอะคริลิคและอะคริลิคฐานฟันปลอมชนิดบ่มด้วยความร้อน |
en_US |
dc.title.alternative |
The effects of pH and drying time of silane solution on tensile bond strength between acrylic denture teeth and heat polymerized denture base resin |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
ทันตกรรมประดิษฐ์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2006.240 |
|