Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาพัฒนาการความร่วมมือระหว่างลาวกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติช่วงปี ค.ศ. 1990 – 2005 โดยวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันในช่วงเวลาดังกล่าว การศึกษานี้ได้นำเอาแนวความคิดเรื่องโครงสร้างอำนาจและแนวความคิดโลกาภิวัตน์เปันกรอบในการวิเคราะห์โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีสมมติฐานที่ว่า “ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศระหว่าง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติในการพัฒนาประเทศเปันผลมาจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายในการพัฒนาประเทศจากนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจระบบสังคมนิยมสู่ระบบกลไกตลาด ที่เรียกว่า จินตนาการใหม่” จากการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศและภายในประเทศเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่าง สปป ลาวกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศจากระบบสองขั้วอำนาจ(bipolar)คือสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกามาเป็นระบบขั้วเดียว(unipolar)ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำเพียงผู้เดียว ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำเนินนโยบายของประเทศสังคมนิยมอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศลาวชึ่งเป็นประเทศเล็กมีเศรษฐกิจอ่อนแอและไม่มีทางออกสู่ทะเลทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมมีข้อจำกัด ด้วยเหตุนี้การพัฒนาประเทศของลาวจึ่งต้องอาศัยความร่วมมือและการพึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างชาติ ดังนั้นลาวจึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ หันไปให้ความร่วมมือกับนานา ชาติมากขึ้นเพื่อให้ได้ความช่วยเหลือจากประเทศตะวันตกและองค์การระหว่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ ลาวและโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติจึ่งมีพัฒนาการความรว่มมือระหว่างกันอย่างสร้างสันต์ อันนำไปสู่ความร่วมมืออย่างใก้ลชิดระหว่างกัน