Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการประมาณค่าแบบช่วงของผลต่างค่าสัดส่วนแบร์นูลลีของข้อมูลแบบจับคู่โดยการเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นจากการทดลอง และค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่น วิธีการประมาณที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ วิธีการประมาณของ Wald วิธีการประมาณของ Newcombe วิธีการประมาณของ May และ Johnson วิธีการประมาณของ Zhou และ Qin การเปรียบเทียบทำภายใต้สถานการณ์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระดับสูง กลาง ต่ำ โดยที่ขนาดตัวอย่างของประชากรมีขนาดเท่ากันคือ 10,20,30,40,50,60,70,80 ค่าสัดส่วนประชากรที่ 1 และ 2 ให้มีค่าตั้งแต่ 0.1 ถึง 0.9 โดยเพิ่มค่าทีละ 0.1 ซึ่งจะให้ค่าผลต่างระหว่างค่าสัดส่วนของสองประชากร มีความแตกต่างกันตั้งแต่ 0 ถึง 0.8 โดยเพิ่มค่าทีละ 0.1 กำหนดให้ กำหนดระดับความเชื่อมั่น 3 ระดับคือ 90%, 95% และ 99% การวิจัยครั้งนี้ใช้เทคนิคการจำลองแบบมอนติคาร์โลและทำการทดลอง 2000 ครั้ง ในแต่ละสถานการณ์ที่กำหนด ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ เมื่อขนาดตัวอย่างของสองประชากรมีขนาดเล็กและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทุกระดับ วิธีการประมาณของ May และ Johnson ให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นจากการทดลองไม่ต่ำกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนดและให้ค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นต่ำที่สุดเมื่อ มีค่าน้อย(มีค่าเข้าใกล้0) และ วิธีการประมาณของ Newcombe ให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นจากการทดลองไม่ต่ำกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนดและให้ค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นต่ำที่สุดเมื่อ มีค่าปานกลาง จนถึงมีค่ามาก(มีค่าเข้าใกล้1)
เมื่อขนาดตัวอย่างของสองประชากรมีขนาดกลางและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทุกระดับ วิธีการประมาณของ May และ Johnson ให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นจากการทดลองไม่ต่ำกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนดและให้ค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นต่ำที่สุดเมื่อ มีค่าน้อย(มีค่าเข้าใกล้0) แต่เมื่อขนาดตัวอย่างของสองประชากรมีขนาดกลางและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ไม่สูง วิธีการประมาณของ Zhou และ Qin ให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นจากการทดลองไม่ต่ำกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนดและค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นต่ำที่สุดเมื่อ มีค่าปานกลางหรือมาก(เข้าใกล้1) เมื่อขนาดตัวอย่างของสองประชากรมีขนาดใหญ่และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทุกระดับ วิธีการประมาณของ Wald วิธีการประมาณของ May และ Johnson และ วิธีการประมาณของ Zhou และ Qin ให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นจากการทดลองไม่ต่ำกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนดและให้ค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นที่ต่ำใกล้เคียงกันเมื่อ มีค่าน้อย(มีค่าเข้าใกล้0) แต่เมื่อขนาดตัวอย่างของสองประชากรมีขนาดใหญ่และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ไม่สูง วิธีการประมาณของ Wald วิธีการประมาณของ Newcombe และ วิธีการประมาณของ Zhou และ Qin ให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นจากการทดลองไม่ต่ำกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนดและให้ค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นที่ต่ำใกล้เคียงกันเมื่อ มีค่าปานกลางหรือมาก(เข้าใกล้1)