Abstract:
การปฏิรูปที่เรียกกันใหม่นี้ว่า "รัฐบาลพลเรือน" ของพม่าหลังจากวันที่ 30 มีนาคม 2011 ได้ทำให้แม้แต่นักการเมือง นักการทูตและผู้สังเกตการณ์ที่มีประสบการณ์มากที่สุดต่างแปลกใจไปพร้อมๆ กัน ในขณะที่ “ปีแห่งความมืด” ซึ่งประธานาธิบดีโอบามา ได้ใช้เรียกพม่า ในช่วงที่อยู่ภายใต้การปกครองของทหารมีทีท่าว่าได้สิ้นสุดลงแล้ว กระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบตลาดได้เกิดขึ้นมาและเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง แต่ทั้งนี้เหตุผลที่ระบอบได้เปิดขึ้นมายังไม่มีความชัดเจนแต่อย่างใด เป้าประสงค์ของวิทยานิพนธ์ชุดนี้ เพื่อศึกษาถึงเงื่อนไขการถอนตัวของทหารและการเปลี่ยนผ่านการปกครองของอำนาจเผด็จการในประเทศพม่า ซึ่งทหารเป็นผู้ที่มีบทบาทโดดเด่นเสมอมา ผลของการศึกษาพบว่า ไม่สามารถที่จะอธิบายได้ว่ามีเหตุผลเดียว เนื่องจากมีเหตุผลต่างๆ ที่มีมาจากภายในประเทศในการเปลี่ยนผ่านของระบอบอำนาจเผด็จการต่างๆ สามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับกรณีของพม่าได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม เหตุผลต่างๆ นั้นสามารถนำมาประยุกต์ได้เพียงบางส่วนหรือโดยอ้อมเท่านั้น ทั้งเหตุผลจากการแตกแยกกันภายในเหล่าทหาร หรือจากวิกฤติทางเศรษฐกิจ ในขณะที่เงื่อนไขต่างๆ จากระหว่างประเทศ ทั้งนโยบายการแซงชั่นที่อยู่ภายใต้การครอบงำของตะวันตก และการมีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์ของประเทศต่างๆ ทางเอเชีย ไม่ใช่ปัจจัยหลักในการตัดสินใจของระบอบสู่การเปลี่ยนผ่านแต่อย่างใด แต่เงื่อนไขระหว่างประเทศอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญ คือ ปัจจัยจากจีน ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับจีนทำให้กองทัพพม่ากลัวการถูกครอบงำโดยอำนาจจากภายนอก ทั้งนี้ความกลัวจากการเป็น "ร่มเงาของจีน" ได้ปรากฏให้เห็นแล้วว่ามีอิทธิพลมากกว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการปกป้องทางการทูต ในความหมายนี้ ความใกล้ชิดที่แนบแน่นกับการที่ได้รับการสนับสนุนที่มากเกินไปจากอำนาจภายนอกได้มีส่วนนำมาสู่กระบวนการเปลี่ยนผ่าน การค้นพบจากการศึกษานี้อาจจะเป็นการเพิ่มความรู้ในประเด็นการเปลี่ยนผ่านของระบอบอำนาจเผด็จการต่างๆ ต่อไป