DSpace Repository

ความเชื่อมโยงระหว่างอาชีพกับแหล่งที่อยู่อาศัยในชุมชนบนพื้นที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ : กรณีศึกษา ชุมชนรุ่งมณีพัฒนา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
dc.contributor.advisor ปรีดิ์ บุรณศิริ
dc.contributor.author อัญชลี เงินโพธิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.coverage.spatial กรุงเทพฯ
dc.coverage.spatial ชุมชนรุ่งมณีพัฒนา เขตวังทองหลาง
dc.date.accessioned 2014-04-17T03:40:53Z
dc.date.available 2014-04-17T03:40:53Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42179
dc.description วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract การประกอบอาชีพ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยในเมืองจึงมีการศึกษาอยู่มาก แต่ยังไม่พบว่ามีการศึกษาถึงความเชื่อมโยงระหว่างอาชีพและแหล่งที่อยู่อาศัย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความเชื่อมโยงทางอาชีพภายในและภายนอกชุมชนและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทำเลที่ตั้งของที่อยู่อาศัยและชุมชนกับความเชื่อมโยงทางอาชีพเพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาชุมชนที่อยู่อาศัยในอนาคต โดยเลือกชุมชนรุ่งมณีพัฒนา ซึ่งเป็นชุมชนนำร่องในการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามโครงการบ้านมั่นคงบนพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่มีแผนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจชุมชน โดยใช้วิธีการสำรวจ การสัมภาษณ์เชิงลึกจากครัวเรือน กลุ่มอาชีพและกิจการในชุมชน ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนรุ่งมณีพัฒนาเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่เชื่อมโยงกับแหล่งอาชีพของผู้อยู่อาศัย ทั้งในชุมชน 17.24% และโดยรอบชุมชน 82.76% กิจการที่เป็นแหล่งอาชีพในชุมชนมี 2 ประเภท คือ ภาคทางการ ได้แก่ บริษัท รอยัลเทค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้างไทยนิยมเทพลีลา โรงงานประกอบเต็นท์ผ้าใบเศรษฐี บ้านเช่า หอพักที่มีสัญญาเช่า และภาคนอกทางการ ได้แก่ อาชีพขายของชำ อาชีพขายอาหาร อาชีพขายเร่ขนมโตเกียว จักรยานยนต์รับจ้าง และบ้านเช่า หอพักที่ไม่มีสัญญาเช่า โดยภาคทางการมีความเชื่อมโยงด้านแรงงานกับการอยู่อาศัยในชุมชนมากที่สุด เป็นแรงดึงสำคัญให้แรงงานเข้ามาอยู่อาศัยในชุมชน ส่วนภาคนอกทางการ กิจการที่มีความเชื่อมโยงด้านอาชีพมากที่สุด ได้แก่ กิจการหอพัก และบ้านเช่า โดยมีความเชื่อมโยงก่อให้เกิดอาชีพขายของชำ ขายอาหารและจักรยานยนต์รับจ้างตามมา อาชีพที่หลากหลายในชุมชนจึงมีความเชื่อมโยงระหว่างกัน ทั้งด้านแรงงาน แหล่งวัตถุดิบและสินค้า ทำเลที่ตั้งของแหล่งอาชีพและที่อยู่อาศัยมีความแตกต่างกันตามคุณลักษณะของแต่ละอาชีพ และทำเลที่ตั้งเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคในการประกอบอาชีพและความเชื่อมโยงทางอาชีพด้วย ชุมชนที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยจึงจำเป็นต้องตั้งใกล้พื้นที่ประกอบอาชีพในเมือง และต้องมีระบบคมนาคมที่เอื้ออำนวยต่อการเชื่อมโยงแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาชีพ การกำหนดที่ตั้งของชุมชน การวางผังชุมชน และการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนผู้มีรายได้น้อย จึงต้องพิจารณาและให้ความสำคัญกับความเชื่อมโยงทางอาชีพ เพื่อเอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมอาชีพของครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในชุมชน อันจะส่งผลให้เกิดความยั่งยืนของชุมชนต่อไป en_US
dc.description.abstractalternative Job opportunities are critical to the economic development of low income housing in the city, but while there are many studies relating the economic results of programs to support the provision of these job opportunities, there have been no studies on the linkage between job opportunities and housing location. Therefore, the purpose of this study is to examine the linkage of occupations inside and outside the community and analyze the relationship between housing location and community with available job opportunities. As a model for community development in the future, the Rung Manee Pattana community was used as a case study because the community is a pilot in the housing development project “Baan Mankong” in the area of the crown property bureau. The Rung Manee Pattana community has a plan to increase the quality of life of its inhabitants, especially in times of economic distress. The instruments used in this study included a survey, a structured interview and an in-depth interview given to households, workers and businesses. The results showed that the Rung Manee Pattana community is a habitat that has proven to be effective in regards to providing its occupants with jobs. The proportion of occupants with jobs inside the community stands at 17.24%, and the remaining portion (82.76%) has jobs outside the community. Furthermore, the businesses that employ the citizens of the community can be divided into those in the formal and informal sector. The businesses in the formal sector consist of Royaltec International Co.,Ltd, a company that sells construction materials, Thai Niyom Thep Lila, a tent factory, and Pabai Settee, which rents commercial real estate. Businesses that make up the informal sector include grocery stores, cafeterias, dessert vendors, motorcycle services and subleased property rental. The formal sector has shown a high degree of labor linkage with the community and recruiting a labor force to live in the community. Among the informal industries, the subleased business has shown a high degree of linkage with job opportunities of the grocery, cafeteria and motorcycle services. The Rung Manee Pattana community has a variety of occupations linked to labor, sources, goods and location of occupation. Since the location of each job is different, job location, as well as the distance between location and work, is a key factor or obstacle facing the provision of job opportunities. As such, the development of low income housing must be located in the city or business area and be supported with convenient transportation. Therefore, in order to bring about sustainable development within low income housing communities, the location of the community should be carefully planned; the social and economic development of these communities should be emphasized to link these communities with job opportunities so that the habitants of these communities can help support and contribute to the sustainability of the community. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.716
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject The Crown Property Bureau en_US
dc.subject Housing -- Thailand -- Bangkok en_US
dc.subject Dwellings -- Social aspects -- Thailand -- Bangkok en_US
dc.subject Urban economics en_US
dc.subject Employment (Economic theory) en_US
dc.subject City planning -- Social aspects -- Thailand -- Bangkok en_US
dc.subject Rung Manee Pattana Community, Wangthonglang -- Bangkok en_US
dc.subject สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ en_US
dc.subject เคหะ -- ไทย -- กรุงเทพฯ en_US
dc.subject ที่อยู่อาศัย -- แง่สังคม -- ไทย -- กรุงเทพฯ en_US
dc.subject เศรษฐศาสตร์เมือง en_US
dc.subject การจ้างงาน (ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์) en_US
dc.subject ผังเมือง -- แง่สังคม -- ไทย -- กรุงเทพฯ en_US
dc.subject ชุมชนรุ่งมณีพัฒนาม เขตวังทองหลาง -- กรุงเทพฯ en_US
dc.title ความเชื่อมโยงระหว่างอาชีพกับแหล่งที่อยู่อาศัยในชุมชนบนพื้นที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ : กรณีศึกษา ชุมชนรุ่งมณีพัฒนา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร en_US
dc.title.alternative Linkage of job opportunities and housing location in the area of The Crown Property Bureau : a case study of Rung Manee Pattana Community, Wangthonglang, Bangkok Metropolitan area en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การพัฒนาที่อยู่อาศัย en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Kpanitchpakdi@yahoo.com
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2012.716


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record