DSpace Repository

การคำนวณหายีออยด์โดยวิธีการประมาณค่าภายใน บริเวณพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor เฉลิมชนม์ สถิระพจน์
dc.contributor.author ดำริห์ ปรุงแต่งกิจ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2015-06-24T04:03:06Z
dc.date.available 2015-06-24T04:03:06Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42521
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract ปัจจุบันการคำนวณหายีออยด์ในประเทศไทยได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก รวมไปถึงการประยุกต์ใช้แบบจำลองยีออยด์ร่วมกับค่าความสูงเหนือทรงรีอ้างอิงที่ได้จากการรังวัดดาวเทียม จีพีเอสเพื่อหาค่าความสูงออร์โทเมตริกที่อ้างอิงกับพื้นผิวยีออยด์ งานวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแบบจำลองยีออยด์ท้องถิ่นบริเวณพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย โดยวิธีการประมาณค่าภายใน (Interpolation Method) โดยใช้ข้อมูลที่เป็นหมุดร่วมจำนวนทั้งสิ้น 70 หมุด ที่มีค่าการรังวัดดาวเทียมจีพีเอสและค่าระดับในงานชั้นที่ 1 ซึ่งดำเนินการโดยกรมแผนที่ทหาร มาใช้สร้างแบบจำลองพื้นผิวยีออยด์บริเวณพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย พร้อมทั้งประเมินผลแบบจำลอง ยีออยด์ท้องถิ่นดังกล่าวด้วยชุดข้อมูลหมุดตรวจสอบจำนวน 20 หมุดที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ศึกษา จากการศึกษาการคำนวณหาค่าความสูงยีออยด์ด้วยวิธีการประมาณค่าภายในทั้ง 4 วิธี คือ Inverse Distance Weighted (IDW), Kriging, Spline และ Triangulated Irregular Network (TIN) ผลปรากฏว่า วิธี IDW มีค่าความผิดพลาดเฉลี่ยของยีออยด์เท่ากับ 1.6 เซนติเมตร มีค่าความผิดพลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่ากับ 15.7 เซนติเมตร วิธี Kriging มีค่าความผิดพลาดเฉลี่ยของยีออยด์เท่ากับ 1.7 เซนติเมตร มีค่าความผิดพลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่ากับ 5.2 เซนติเมตร วิธี Spline มีค่าความผิดพลาดเฉลี่ยของยีออยด์เท่ากับ 1.3 เซนติเมตร มีค่าความผิดพลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่ากับ 5.4 เซนติเมตร และวิธี TIN มีค่าความผิดพลาดเฉลี่ยของยีออยด์เท่ากับ 1.4 เซนติเมตร มีค่าความผิดพลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่ากับ 5.4 เซนติเมตร ดังนั้นในงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าแบบจำลอง ยีออยด์ท้องถิ่นที่สร้างขึ้นมาด้วยวิธีการประมาณค่าภายในด้วยวิธี Kriging, Spline และ TIN สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการแปลงค่าความสูงเหนือทรงรีอ้างอิงมาเป็นค่าความสูงออร์โทเมตริกได้ในบริเวณพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย en_US
dc.description.abstractalternative The measurement of geoid in Thailand has recently gained its importance. Applications of geoid model can be used to determine the orthometric heights of geoid surface from relative reference GPS ellipsoid. The main objective of this research is to develop a local geoid model in central part of Thailand using the interpolation method. A total of 70 GPS points positioning were used for this observation. The GPS signals and the first order leveling survey marks measurement were provided by the Royal Thai Survey Department (RTSD). These data were then used to generate a local geoid model in the central region of Thailand. Subsequently, this local geoid model was assessed by 20 check points within the research area. This research revealed an average error values of the orthometric heights of geoid surface from 4 different interpolation methods which are 1) Inverse Distance Weighted (IDW), 2) Kriging, 3) Spline and 4) Triangulated Irregular Network (TIN). IDW method gave an average error value at 1.6 centimeter with the largest discrepancy at 15.7 centimeter. While Kriging, Spline and TIN gave 1.7 centimeter with the largest discrepancy at 5.2 centimeter, 1.3 centimeter with the largest discrepancy at 5.4 centimeter and 1.4 centimeter with the largest discrepancy at 5.4 centimeter, respectively. In conclusion, the results confirm that the Kriging, Spline and TIN methods can be accurately used to evaluate the orthometric heights from relative reference GPS ellipsoid within the central region of Thailand. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.367
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ธรณีสัณฐานวิทยา en_US
dc.subject โลก -- รูปร่าง en_US
dc.subject ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก en_US
dc.subject ดาวเทียมในการนำร่อง en_US
dc.subject Geomorphology en_US
dc.subject Earth (Planet) -- Figure en_US
dc.subject Global Positioning System en_US
dc.subject Artificial satellites in navigation en_US
dc.title การคำนวณหายีออยด์โดยวิธีการประมาณค่าภายใน บริเวณพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย en_US
dc.title.alternative Geoid determination by interpolation method in central part of thailand en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline วิศวกรรมสำรวจ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor chalermchon.s@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2012.367


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record