Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เปรียบเทียบวิธีการประมาณพารามิเตอร์ในตัวแบบเชิงเส้นอย่างง่าย ระหว่างวิธีกำลังสองน้อยสุด วิธีเพรส-วินส์เทน และวิธีการปรับค่าเอนเอียงด้วยวิธีบูทสแตรป เมื่อความคลาดเคลื่อนในตัวแบบเกิดอัตตสัมพันธ์อันดับ 1 (AR1) กระทำภายใต้เงื่อนไข ค่าอัตตสัมพันธ์ที่ระดับ 0.1,0.2,0.3,0.4,0.5 รูปแบบตัวแปรอิสระ 3 รูปแบบ คือ รูปแบบความสัมพันธ์เชิงเส้นกับเวลา ( = t เมื่อ t = 1, 2, .., n) รูปแบบอัตตสัมพันธ์อันดับ 1 (DGP1 : ) รูปแบบอัตตสัมพันธ์อันดับหนึ่งและมีความสัมพันธ์เชิงเส้นกับเวลา ( DGP2 : ) และข้อมูลจริงของมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ(X) กัผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Y) ระหว่างปี 1950-1969 ของประเทศไทยกำหนดพารามิเตอร์ในตัวแบบถดถอยคือ , ขนาดตัวอย่างที่ศึกษาคือ ตัวอย่างขนาดเล็ก(15,20) ขนาดกลาง(50,60),ขนาดใหญ่(90,100)กำหนดจำนวนตัวอย่างบูทสแตรปที่สุ่มซ้ำจำนวน 500ชุด เพื่อหาค่าความเอนเอียงของตัวประมาณพารามิเตอร์ กำหนดจำนวนตัวอย่างบูทสแตรปที่สุ่มซ้ำจำนวน ชุด เพื่อหาการแจกแจงตัวประมาณพารามิเตอร์ที่แก้ไขความเอนเอียงแล้วและนำมาสร้างช่วงความเชื่อมั่นพารามิเตอร์ กำหนดข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้จากการจำลองด้วยเทคนิคมอนติคาร์โลและทำการทดลองซ้ำกัน 2000 ครั้ง ในแต่ละสถานการณ์เพื่อหาระดับความเชื่อมั่นของค่าประมาณช่วงความเชื่อมั่นพารามิเตอร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 2) ระดับความเชื่อมั่นของค่าประมาณช่วงความเชื่อมั่นพารามิเตอร์มีค่าสูงขึ้นเมื่ออค่าอัตตสัมพันธ์ของความคลาดเคลื่อนสูงขึ้น