DSpace Repository

สุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยของรัฐในกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor พวงสร้อย วรกุล en_US
dc.contributor.advisor ชุติมา หรุ่มเรืองวงษ์ en_US
dc.contributor.author ณัฐดนัย เอี่ยมวัฒนเสรี en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2015-06-24T06:36:42Z
dc.date.available 2015-06-24T06:36:42Z
dc.date.issued 2556 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43269
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทำการเก็บข้อมูลในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2556 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 993 คน โดยวิธี Stratified Random Sampling ตามสัดส่วนของจำนวนนิสิตในแต่ละคณะ แยกตามเพศ โดยเครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง และ Thai Mental Health Indicator ( TMHI-66) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์ ได้แก่ Chi-square, t-test และ Logistic Regression Analysis ผลการวิจัยพบว่า นิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่1 ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 41.2) มีสุขภาพจิตอยู่ในระดับเทียบเท่ากับบุคคลทั่วไป โดยมีนิสิตร้อยละ 38.9 ที่มีสุขภาพจิตอยู่ในระดับดีกว่าบุคคลทั่วไป และมีนิสิตร้อยละ 19.9 ที่มีสุขภาพจิตอยู่ในระดับต่ำกว่าบุคคลทั่วไป โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ เพศ ช่วงอายุที่เข้าเรียนปี 1 กลุ่มสาขาวิชา ภูมิลำเนา ค่าใช้จ่ายที่ได้รับต่อเดือน ความเพียงพอของค่าใช้จ่ายที่ได้รับ สถานที่พักอาศัย ความพึงพอใจในที่พักอาศัย ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ปัญหาสุขภาพของผู้ปกครอง รายได้เฉลี่ยของครอบครัว ความเพียงพอของรายได้ครอบครัว ความสัมพันธ์กับเพื่อนๆในมหาวิทยาลัย จำนวนเพื่อนสนิทหรือกลุ่มเพื่อน การเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัยและคณะ และความพึงพอใจในคณะที่ศึกษา en_US
dc.description.abstractalternative The objectives of this study were to examine the mental health and associated factors among first-year undergraduate students in Chulalongkorn university. The data was collected from 993 first-year undergraduate students during their second semester in an academic year of 2013. Self-report questionnaires that were used in the study included: 1) Personal and academic information, and 2) Thai Mental Health Indicators (TMHI-66). Univariate and Multivariate analysis was used to determine the associated factors with mental health among these students. This study found that most of the students (41.2%) had a moderate level of mental health, while 38.9 % and 19.9% had the high and the low level of mental health, respectively. From univariate analysis, there are 16 factors associated with mental health among these students; gender, age, field of study, hometown, monthly budget, adequacy of budget, accommodation, satisfaction in their accommodation, relationship within their family, their parents' health status, family income, adequacy of their family income, relationship among classmates, number of friends, participation in university and faculty extra-curricular activities, and satisfaction in their faculty. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.677
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject สุขภาพจิต
dc.subject นักศึกษา
dc.subject สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
dc.subject Mental health
dc.subject Public universities and colleges
dc.title สุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยของรัฐในกรุงเทพมหานคร en_US
dc.title.alternative MENTAL HEALTH AND ASSOCIATED FACTORS IN FIRST-YEAR UNDERGRADUATE STUDENTS IN A GOVERNMENT UNIVERSITY IN BANGKOK en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สุขภาพจิต en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor smedscsw@hotmail.com en_US
dc.email.advisor jaomee@hotmail.com
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2013.677


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record