DSpace Repository

การแยกประเภทขยะมูลฝอยของประชาชนในชุมชนเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิไล วงศ์สืบชาติ
dc.contributor.author นริสรา พึ่งโพธิ์สภ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2007-10-10T04:51:10Z
dc.date.available 2007-10-10T04:51:10Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.isbn 9741712057
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4341
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 en
dc.description.abstract ศึกษาพฤติกรรมการแยกประเภทขยะมูลฝอยและปัจจัยที่มีอิทธิพบต่อ การแยกประเภทขยะมูลฝอยของประชาชนในชุมชนเขตบางกะปิ กรงเทพมหานคร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม กับประชาชนในชุมชนตัวอย่าง 5 ชุมชน ของเขตบางกะปิ จำนวน 440 ราย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการแยกประเภทขยะมูลฝอยในระดับค่อนข้างดี โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่แยกประเภทขยะมูลฝอย เป็นบางครั้งหรือบ่อยครั้ง และมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่แยกประเภทขยะมูลฝอยเลย ผลการวิเคราะห์การถดถอยแบบง่ายพบว่า ตัวแปรอิสระที่มีผลทางบวกต่อการแยกประเภทขยะมูลฝอย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ ทัศนคติเกี่ยวกับการแยกประเภทขยะมูลฝอย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการแยกประเภทขยะมูลฝอย การรับสารเกี่ยวกับการแยกประเภทขยะมูลฝอย และความรู้เกี่ยวกับการแยกประเภทขยะมูลฝอย ส่วนผลการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุพบว่า กลุ่มตัวแปรอิสระที่มีผลต่อการแยกประเภทขยะมูลฝอย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรอิสระทั้ง 12 ตัว สามาถอธิบายการแปรผันของการแยกขยะมูลฝอยได้ประมาณ 14% สำหรับผลการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุขั้นตอนพบว่า ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการแยกประเภทขยะมูลฝอย สามารถอธิบายการแปรผันของการแยกประเภทขยะมูลฝอยได้ดีที่สุดคือ 7.1% รองลงมาคือ การรับสารเกี่ยวกับการแยกประเภทขยะมูลฝอย ทัศนคติเกี่ยวกับการแยกประเภทขยะมูลฝอย และอายุ ซึ่งเพิ่มอำนาจในการอธิบายการแปรผันของการแยกประเภทขยะมูลฝอยได้ 2.6%, 1.6% และ 1.3% ตามลำดับ ส่วนตัวแปรอิสระตัวอื่นๆ ไม่ได้เพิ่มอำนาจในการอธิบายการแปรผันของการแยกประเภทขยะมูลฝอย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 en
dc.description.abstractalternative To investigate behavior and factors addecting solid-waste separation among people in the communities of Bang Kapi District in Bangkok. Questionnaires were answered by 440 persons from five sampled communities. Solid-waste separation behavior of the people is at a fairly good level. Most people usually or occasionally separate solid wastes. Only a minority does not separate any kind of them. Simple regression analysis indicates that the following five variables, namely, age, attitude toward solid-waste separation, expected benefit from solid-waste separation, exposure to information on solid-waste separation and knowledge on solid-waste separation, each has a positive influence on solid-waste separation at the 0.05 significance level. In addition, multiple regression analysis shows that a group of 12 independent variables significantly explains variation in solid-waste separation by 14%. The stepwise multiple regression analysis, however , reveals that the prime factor explaining the variation of solid-waste separation is expected benefit form solid-waste separation, 7.1%, followed by exposure to information on solid-waste separation, attitude toward solid-waste separation and age, which increases the explanatory power by 2.6%, 1.6% and 1.3%, respectively, whereas the remaining independent variables do not increase the explanatory power at the 0.05 significance level. en
dc.format.extent 9792754 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.289
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การคัดแยกขยะ -- ไทย -- บางกะปิ (กรุงเทพฯ) en
dc.subject ขยะ -- ไทย -- กรุงเทพฯ en
dc.title การแยกประเภทขยะมูลฝอยของประชาชนในชุมชนเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร en
dc.title.alternative Solid-waste separation by the people in the communities of Bang Kapi district in Bangkok en
dc.type Thesis en
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline ประชากรศาสตร์ en
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor wilai.w@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2002.289


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record