Abstract:
ศึกษาและเปรียบเทียบการประมาณค่าองค์ประกอบความแปรปรวน สำหรับการทดลองปัจจัยพหุ กรณีตัวแบบข้ามกลุ่ม 2 ปัจจัยเชิงสุ่ม 2 วิธี คือวิธีแบบบูตสแตรปและวิธีแบบคลาสสิก ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้จากการจำลองด้วยเทคนิคมอนติคาร์โลด้วยโปรแกรม S-PLUS 2000 โดยศึกษาภายใต้การแจกแจงของความคลาดเคลื่อน 2 ลักษณะ คือ ความคลาดเคลื่อนมีการแจกแจงแบบปกติ ศึกษาภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ดังนี้ a=b=2, n=3,5,7 a=b=3, n=3,5,7 a=b=4, n=3,5,7 สัมประสิทธิ์การแปรผัน (CV) 10%, 30% และ 50% ความคลาดเคลื่อนมีการแจกแจงแบบปกติปลอมปนศึกษา ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ดังนี้ a=b=2, n=3,5,7 a=b=3, n=3,5,7 a=b=4, n=3,5,7 พารามิเตอร์ที่กำหนดความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อน sigma2 = 100 เปอร์เซนต์ของการปลอมปนเป็น 5% 10% และ 25% และสเกลแฟคเตอร์ 2 ระดับ คือ 3 และ 10 เกณฑ์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบวิธีการประมาณทั้ง 2 วิธีคือระยะทางยุคลิดเฉลี่ย ระหว่างเวคเตอร์ของค่าประมาณองค์ประกอบความแปรปรวน กับค่าจริงของเวกเตอร์ขององค์ประกอบความแปรปรวน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ สำหรับความคลาดเคลื่อนที่มีการแจกแจงแบบปกติ เมื่อระดับปัจจัยและขนาดหน่วยทดลองที่ใช้มีค่าต่ำ (a=2,b=2,n=3,5) วิธีบูตสแตรปมีระยะทางยุคลิดเฉลี่ยของเวกเตอร์ ขององค์ประกอบความแปรปรวนในการประมาณค่าองค์ประกอบความแปรปรวน ต่ำกว่าวิธีคลาสสิก เมื่อระดับปัจจัยและขนาดหน่วยทดลองที่ใช้มีขนาดมาก (a=4,b=4,n=5,7) วิธีคลาสสิกมีระยะทางยุคลิดเฉลี่ย ของเวกเตอร์ขององค์ประกอบความแปรปรวนต่ำกว่าวิธีบูตสแตรป สำหรับความคลาดเคลื่อนที่มีการแจกแจงแบบปกติปลอมปน โดยส่วนใหญ่ประมาณ 98% วิธีบูตสแตรปมีระยะทางยุคลิดเฉลี่ยของเวกเตอร์ ขององค์ประกอบความแปรปรวนตาำกว่าวิธีคลาสสิก