DSpace Repository

ความสัมพันธ์ของทันตสุขศึกษากับการพบเชื้อราแคนดิดาในช่องปากของผู้ป่วยโรคไลเคนแพลนัสที่ได้รับการรักษาด้วยยาฟลูโอซิโนโลน อะเซทโทไนด์ ความเข้มข้นร้อยละ 0.1

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชาญวิทย์ ประพิณจำรูญ en_US
dc.contributor.author วรางคณา ยรรยงเกษมสุข en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2015-06-24T06:39:10Z
dc.date.available 2015-06-24T06:39:10Z
dc.date.issued 2556 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43539
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 en_US
dc.description.abstract โรคไลเคนแพลนัสเป็นโรคผิวหนังแบบเรื้อรังที่ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของเยื่อเมือกช่องปาก ในปัจจุบันยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เฉพาะที่เป็นที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อลดการอักเสบและความเจ็บปวดในผู้ป่วยกลุ่มนี้ หนึ่งในผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาดังกล่าวคือผู้ป่วยเกิดความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อราแคนดิดาในช่องปากขึ้นนั้น ในปัจจุบันผลการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ได้รับการแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องเหมาะสมจะส่งผลให้จำนวนของเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อในช่องปากลดลงได้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ทันตสุขศึกษาในผู้ป่วยโรคไลเคนแพลนัสในช่องปากที่ได้รับการรักษาด้วยยาฟลูโอซิโนโลนอะเซทโทไนด์ ความเข้มข้นร้อยละ 0.1 ต่อการพบเชื้อราแคนดิดาในช่องปาก โดยการตรวจหาเชื้อราแคนดิดาด้วยวิธีอิมพรินท์และตัวอย่างน้ำลายบางส่วน รวมถึงการตรวจวัดดัชนีแผ่นคราบจุลินทรีย์ก่อนและหลังการให้ทันตสุขศึกษาในเดือนที่ 1 และ 3 ผลการศึกษาพบว่าดัชนีแผ่นคราบจุลินทรีย์ช่วงก่อนและหลังการให้ทันตสุขศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P0.05) แม้ว่าการให้ทันตสุขศึกษาจะมีประสิทธิภาพในการลดแผ่นคราบจุลินทรีย์ แต่ไม่มีผลต่อการปรากฏของเชื้อราแคนดิดาในช่องปากของผู้ป่วยไลเคนแพลนัสที่ได้รับการรักษาด้วยยาฟลูโอซิโนโลน อะเซทโทไนด์ ความเข้มข้นร้อยละ 0.1 en_US
dc.description.abstractalternative Lichen planus is a chronic mucocutaneous disorder causing chronic inflammation of oral mucosa. At present, topical corticosteroids are widely used in order to reduce inflammation and discomfort of the patients. One of the undesirable side effects of topical steroids is the increased risk of oral candidiasis. Up to now, a number of researches showed that people who have been introduced to properly oral health care will result in reducing number of oral microbes. The aim of this research was to study the impact of oral hygiene instruction on the presence of Candida in oral lichen planus patients undergoing treatment with 0.1% fluocinolone acetonide. The presence of oral Candida was assessed by imprint culture, concentrated oral rinse technique including plaque index measurement before oral hygiene instruction, 1 month and 3 months later. The results showed the statistical difference of plaque index score between before and after oral hygiene instruction (P0.05). Despite the effective of oral hygiene instruction in reducing dental plaque, there has no effect on the presence of oral Candida in oral lichen planus patients treated with 0.1% Fluocinolone acetonide. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1002
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ทันตสุขศึกษา
dc.subject ปาก -- จุลชีววิทยา
dc.subject โรคไลเคนแพลนัส -- ผู้ป่วย
dc.subject Dental health education
dc.subject Mouth -- Microbiology
dc.title ความสัมพันธ์ของทันตสุขศึกษากับการพบเชื้อราแคนดิดาในช่องปากของผู้ป่วยโรคไลเคนแพลนัสที่ได้รับการรักษาด้วยยาฟลูโอซิโนโลน อะเซทโทไนด์ ความเข้มข้นร้อยละ 0.1 en_US
dc.title.alternative RELATIONSHIP OF ORAL HYGIENE INSTRUCTION AND THE PRESENCE OF CANDIDA IN ORAL LICHEN PLANUS PATIENTS TREATED WITH 0.1% FLUOCINOLONE ACETONIDE. en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เวชศาสตร์ช่องปาก en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor witdent@yahoo.com en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2013.1002


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record