DSpace Repository

การสร้างตัวแบบกองทุนบำนาญแบบผสม

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุวาณี สุรเสียงสังข์ en_US
dc.contributor.author พิทูร เลียมจรัสกุล en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี en_US
dc.date.accessioned 2015-06-24T06:44:20Z
dc.date.available 2015-06-24T06:44:20Z
dc.date.issued 2556 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43742
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแบบกองทุนบำนาญแบบผสมโดยเปรียบเทียบมูลค่ากองทุนของกองทุนบำนาญแบบกำหนดจากเงินผลประโยชน์ กองทุนบำนาญแบบกำหนดจากเงินสมทบ และกองทุนบำนาญแบบผสมเมื่อกำหนดปัจจัยที่มีผลต่อมูลค่ากองทุนได้แก่ อายุเกษียณ ขนาดกองทุน และโครงสร้างอายุของสมาชิกกองทุน ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาคือ ข้อมูลผู้ประกันตนในกองทุนประกันสังคม ณ เดือนธันวาคม 2553 จำนวน 8.9 ล้านคน นอกจากนี้ได้สร้างข้อมูลพนักงานของบริษัทจำลองจากข้อมูลข้างต้น กรอบการวิเคราะห์จำแนกออกเป็น 2 กรณี คือ กรณีแรกเป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้างภาพรวมกองทุน 3 ประเภท ได้แก่ 1) แผนบำนาญแบบกำหนดเงินผลประโยชน์ 2) แผนบำนาญแบบกำหนดเงินสมทบ และ 3) แผนบำนาญแบบผสมแบบกำหนดเงินผลประโยชน์ขั้นต่ำ สำหรับกรณีที่สอง เป็นการวิเคราะห์โดยจำแนกตามวิธีการสะสมทุนทั้ง 3 ประเภทได้แก่ 1) Entry Age Normal 2) Projected Unit Credit และ 3) Traditional Unit Credit ผลการศึกษาพบว่า เมื่อทำการพยากรณ์ไป 10 ปี กองทุนบำนาญแบบผสมให้เงินผลประโยชน์เท่ากับกรณีแบบกำหนดเงินผลประโยชน์ และสูงกว่าแบบกำหนดเงินสมทบ สำหรับการวิเคราะห์โดยจำแนกตามวิธีการสะสมทุนพบว่า วิธีการสะสมทุนที่ดีที่สุดสำหรับทุกขนาดกองทุนในระบบเศรษฐกิจ คือ แบบ Projected Unit Credit ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของมูลค่าเงินกองทุนบำนาญแบบผสมที่กำหนดเงินผลประโยชน์ขั้นต่ำ คือ การขยายระยะเวลาอายุเกษียณให้นานขึ้น หรือ หากไม่สามารถขยายระยะเวลาเกษียณอายุ บริษัทควรเพิ่มสัดส่วนโครงสร้างอายุพนักงานในวัยเริ่มต้นทำงานมากขึ้น en_US
dc.description.abstractalternative The objectives of the study is, generating the appropriate hybrid pension fund model by comparing the fund value between Defined Benefit (DB), Defined Contribution (DC) and a Hybrid Pension fund, Defined Benefit Underpin (DBU), subject to these factors which are an age of retirement, size and age structure. The study has used 8.9 million data of insured persons from the Social Security Fund (SSO) as of December 2010. Then, generate the dummy companies and its employee data from the model. The frame of a study is separated by 2 ideas, the overview of 3 types of pension funds; DB, DC and DBU pension, and the best strategy of the dummy companies which are Entry Age Normal (EAN), Projected Unit Credit (PUC) and the Traditional Unit Credit (TUC). The results of research found that, in next decade, the hybrid pension fund will give benefit to insured persons equal DB and more than DC, respectively. In case of dummy companies, the Projected Unit Credit (PUC) will be the best capital accumulation strategy for every company size (small, medium and large). Furthermore, the extension of retirement age affects the increasing value of a hybrid pension fund. Finally, if the retirement age has been limited, the company should increase a proportion of youth employees. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1200
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กองทุนประกันสังคม
dc.subject การเกษียณอายุ
dc.subject Retirement
dc.title การสร้างตัวแบบกองทุนบำนาญแบบผสม en_US
dc.title.alternative HYBRID PENSION FUND MODELING en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การประกันภัย en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor suwanee@cbs.chula.ac.th en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2013.1200


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record