Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประการดังนี้คืิอ 1.ศึกษาเปรียบเทียบการจัดการน้ำท่วมในปี พ.ศ.2554 ของผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง และแต่งตั้ง ตามแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์การเมือง ในกรณีศึกษา ชุมชนสวนผัก ใน จ.กรุงเทพฯ และชุมชนคลองโยง ใน จ.นครปฐม 2.ศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจ และความคาดหวังของประชาชนในพื้นที่ๆ ได้รับการจัดการนำ้ท่วม ในปี พ.ศ.2554 ทั้งในช่วงก่อนภาวะนี้ำท่วม ระหว่างน้ำท่วม และหลังจากภาวะนำ้ท่วมผ่านพ้นไปแล้ว
จากการศึกษาวิจัย พบว่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากภาวะน้ำท่วมนั้น เป็นการบังคับให้จนในทางเศรษฐกิจ ในมุมมองตามแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์การเมือง ซึ่งส่วนหนึ่งนั้นเป็นผลมาจาก ประสิทธิภาพ และ ความสามารถ ในการทำงานทำงานแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่แตกต่างกันของผู้ว่าราชการจังหวัดทั้งแต่ละแบบ ซึ่งเป็นผลมาจากโครงสร้างทางกฎหมาย ทีให้อำนาจที่แตกต่างกัน ซึ่งผลจากอำนาจที่แตกต่างกันดังกล่าว ได้ทำให้ ประสิทธิภาพ และความสามารถในการทำงานของ ผู้ว่าฯ ที่มาจากการเลือกตั้งนั้น สามารถทำงานแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งในช่วงก่อน ระหว่าง และหลัังจากภาวะน้ำท่วมได้ผ่านพ้นไปแล้ว ซึ่งหมายรวมถึงการปัองกันปัญหาในอนาคต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นแล้ว การมีงบประมาณเป็นของตนเองก็เป็นปัจจัยที่ช่วยเสริม ในการทำงานดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งตรงกันข้ามกับ ผู้ว่าฯ ที่มาจากการแต่งตั้ง ที่ ประสิทธิภาพ และ ความสามารถ ในการทำงานแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นนั้น มีปัญหาทั้งในช่วงก่อน ระหว่าง และหลัังจากภาวะน้ำท่วมได้ผ่านพ้นไปแล้ว ซึ่งหมายรวมถึงการปัองกันปัญหาในอนาคตที่จะเกิดขึ้่น นอกจากนั้นแล้ว ยังมีปัญหาอุปสรรคในด้านงบประมาณที่ไม่เพียงพอ ในการทำโครงการในระยะยาวประกอบด้วย อย่างไรก็ดีปัญหาในด้านงบประมาณดังกล่าวนี้ สามารถแก้ได้ด้วยการเขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนกลางได้อีกทางหนึ่ง แต่อย่างไรก็ดีก็พบว่าการเขียนโครงการดังกล่าวนั้น ถูกใช้ไปกับโครงการที่ตอบสนองต่ออายุราชของ ผู้ว่าฯ ที่เหลือที่จะต้องประจำอยู่ในพื้นที่เป็นหลัก
จากสิ่งที่เกิดขึ้นจึงทำให้ความจน ถูกทำให้กลายเป็นมรดก ในพื้นที่ๆ เกิดความเสียหายซ้ำซาก จากการที่ไม่ได้รับการวางแผนพัฒนา ป้องกันอย่างต่อเนื่องในระยะยาว