DSpace Repository

การศึกษาความต้องการการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ ตามการรับรู้ของผู้ป่วย ญาติผู้ดูแล และพยาบาลจิตเวช

Show simple item record

dc.contributor.advisor รังสิมันต์ สุนทรไชยา en_US
dc.contributor.author กนกรัตน์ แสงกระจ่าง en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2015-06-24T06:45:33Z
dc.date.available 2015-06-24T06:45:33Z
dc.date.issued 2556 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43863
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุตามการรับรู้ของผู้ป่วย ญาติผู้ดูแลและพยาบาลจิตเวช กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ ญาติผู้ดูแลและพยาบาลจิตเวช แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลในศูนย์สุภาพจิตเขตที่ 4 จำนวน 186 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1.แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2.แบบทดสอบสภาพสมองเสื่อมเบื้องต้นฉบับภาษาไทย และ 3.แบบประเมินความต้องการของผู้สูงอายุฉบับภาษาไทย เครื่องมือชุดที่ 2 และชุดที่ 3 ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .83 และ .75 ตามลำดับและมีค่าความเที่ยงโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราค เท่ากับ .83 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและค่าความสอดคล้องโดยใช้สัมประสิทธิ์แคปปาของโคเฮน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุรับรู้ว่าตนเองมีความต้องการการดูแลที่ได้รับการตอบสนองมากที่สุดได้แก่ ด้านร่างกายคิดเป็นร้อยละ 46.8 ส่วนความต้องการการดูแลที่ไม่ได้รับการตอบสนองมากที่สุดได้แก่ด้านสังคมคิดเป็นร้อยละ 10 ญาติผู้ดูแลรับรู้ว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุมีความต้องการการดูแลที่ได้รับการตอบสนองมากที่สุดได้แก่ ด้านร่างกายคิดเป็นร้อยละ 66 ส่วนความต้องการการดูแลที่ไม่ได้รับการตอบสนองมากที่สุดได้แก่ด้านสังคมคิดเป็นร้อยละ 3 พยาบาลจิตเวชรับรู้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุมีความต้องการการดูแลที่ได้รับการตอบสนองมากที่สุดได้แก่ ด้านร่างกายคิดเป็นร้อยละ 56.5 ส่วนความต้องการการดูแลที่ไม่ได้รับการตอบสนองมากที่สุดได้แก่ด้านสิ่งแวดล้อมคิดเป็นร้อยละ 9.6 2. ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองและความต้องการการดูแลที่ไม่ได้รับการตอบสนองตามการรับรู้ของผู้ป่วย ญาติผู้ดูแลและพยาบาลจิตเวช แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3. ค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องความต้องการการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุระหว่างผู้ป่วย ญาติผู้ดูแลเท่ากับ 0.36 โดยที่ความต้องการการดูแลระดับมากได้แก่ความต้องการการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมและความต้องการการดูแลระดับน้อยได้แก่ความต้องการดูแลด้านจิตใจ 4. ค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องความต้องการการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุระหว่างผู้ป่วยและพยาบาลจิตเวชเท่ากับ 0.31 โดยที่ความต้องการการดูแลระดับมากได้แก่ความต้องการการดูแลด้านร่างกายและความต้องการการดูแลระดับน้อยได้แก่ความต้องการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this descriptive study was to explore care needs of elderly depressed patients as perceived by patients, family caregivers, and psychiatric nurses. A sample of 186 participants were recruited from the mental health center of the fourth region. Research tools were: 1. the personal information questionnaire, 2.Thai Mental State Exam (TMSE), and 3. Camberwell Assessment of Need for the Elderly (CANE-Thai version). For TMSE and CANE-Thai version, The content validity by five experts was .83 and .75.;The reliability by Chronbach’s Alpha was .83 and .80. Data were analyzed by descriptive statistics, Analysis of Variance and Cohen’s Kappa Coefficient. Results were as following: 1. Elderly patients with depression perceived met need of 46.8 % physical care needs and unmet need of 10 % social care needs. Family caregivers perceived met need of66 % physical care needs and unmet need of 3 % social care needs. Also, psychiatric nurses perceived met need of 56.5 % physical care needs and unmet need of 9.6 % environmental needs. 2. Met needs and Unmet needs as perceived by elderly patients, family caregivers, and psychiatric nurses were statistically significant different at the level of .05. 3. The average Kappa coefficient of care needs of elderly patients with depression between patients and family caregivers was 0.36. The higher need was environmental need and the lower need was psychological need. 4. The average Kappa coefficient of care needs of elderly patients with depression between patients and psychiatric nurses was 0.31. The higher need was physical need and the lower need was environmental need. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1320
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
dc.subject ผู้ป่วย -- การดูแล
dc.subject Depression in old age
dc.subject Care of the sick
dc.title การศึกษาความต้องการการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ ตามการรับรู้ของผู้ป่วย ญาติผู้ดูแล และพยาบาลจิตเวช en_US
dc.title.alternative A STUDY OF CARE NEEDS OF ELDERLY DEPRESSED PATIENTS AMONG PATIENTS, FAMILY CAREGIVERS AND PSYCHIATRIC NURSES en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor srangsiman@yahoo.com en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2013.1320


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record