DSpace Repository

แนวทางการนำมาตรการพิเศษสำหรับบริษัทขนาดเล็กที่สามารถเลือกเสียภาษีเงินได้ในระดับผู้ถือหุ้น (S Corporation) มาปรับใช้ในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล en_US
dc.contributor.advisor พล ธีรคุปต์ en_US
dc.contributor.author อุบลวรรณ อักษรกลั่น en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2015-06-24T06:45:40Z
dc.date.available 2015-06-24T06:45:40Z
dc.date.issued 2556 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43881
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 en_US
dc.description.abstract องค์กรธุรกิจแต่ละองค์กรมีภาระภาษีที่แตกต่างกัน ดังนั้นในการวางแผนภาษีวิธีหนึ่งที่นิยมทำกัน คือ การเลือกรูปแบบองค์การธุรกิจให้เหมาะสมกับการประกอบธุรกิจ ไม่ว่าการจัดตั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดา หรือกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนและคณะบุคคล ที่แม้มิได้มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ในทางภาษีกำหนดให้มีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนจึงนำมาวางแผนภาษี เพื่อที่จะขยายฐานภาษีให้กว้างขึ้นทำให้เสียภาษีในอัตราที่ต่ำลง และปัจจุบันสรรพากรได้เพ่งเล็งรูปแบบการประกอบธุรกิจในรูปแบบของคณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญมากขึ้น ดังนั้นจึงมีการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจไปในรูปแบบของนิติบุคคลมากขึ้น เช่นบริษัท เพราะบริษัทสามารถจัดตั้งได้ง่ายในปัจจุบัน มีผู้ร่วมก่อการเพียง 3 คนก็สามารถจัดตั้งบริษัทได้ หรือกรณีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน เพราะปัจจุบันอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลมีอัตราภาษีเงินได้ที่ต่ำกว่าอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และประมวลรัษฎากรของไทยได้กำหนดหน่วยภาษีโดยพิจารณาแต่เพียงรูปแบบ (Form) ของการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น โดยมิได้พิจารณาถึงเนื้อหา (Substance) ในการเข้าทำธุรกรรมที่แท้จริง จึงก่อให้เกิดความได้เปรียบในทางภาษีโดยการเลือกใช้หน่วยภาษีสร้างความแตกต่างในการเสียภาษี ซึ่งขัดกับหลักภาษีอากรที่ดีในเรื่องความเป็นธรรม และหลักความสามารถในการเสียภาษี (Ability to pay) ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือ ฐานะความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจ ไม่มีการกระจายการจัดเก็บไปตามความสามารถของแต่ละบุคคลที่เป็นเจ้าของเงินได้ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนนั่นเอง ตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกามีกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการพิเศษที่กำหนดให้บริษัทขนาดเล็กแม้ว่าจะจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลก็ตามแต่ก็สามารถที่จะเลือกเสียภาษีในระดับผู้ถือหุ้นแค่เพียงระดับเดียวได้ ตามหลัก Pass-Through System ได้โดยไม่ต้องเสียภาษีในระดับกิจการ ซึ่งเป็นการพิจารณาถึงเนื้อหาที่แท้จริงในการเข้าทำธุรกรรม มิได้พิจารณาแต่เพียงรูปแบบเท่านั้น ซึ่งกฎหมายภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดให้นิติบุคคลบางประเภทที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ในนามบุคคลธรรมดา เช่น บริษัทจำกัดความรับผิด (Limited Liability Company) และ บริษัท S Corporation โดยเสียภาษีในนามบุคคลธรรมดาตามหลัก Pass-Through System เพราะสหรัฐอเมริกากำหนดหน่วยภาษิเงินได้นิติบุคคลโดยมิได้พิจารณาเฉพาะความเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังพิจารณาองค์ประกอบอื่นร่วมด้วย เพราะการจัดเก็บภาษีมาจากแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ จึงควรพิจารณาการบริหารงานของนิติบุคคลว่าแยกออกจากผู้ถือหุ้นอย่างชัดเจนหรือไม่ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงแนวทางในการนำมาตรการพิเศษสำหรับบริษัทขนาดเล็กที่สามารถเลือกเสียภาษีเงินได้เยี่ยงบุคคลธรรมดา (S corporation) มาปรับใช้ในประเทศไทย โดยนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมกับโครงสร้างภาษีและโครงสร้างองค์กรของไทย เพื่อให้สอดคล้องกับหลักความเป็นธรรมซึ่งเป็นหลักการเสียภาษีอากรที่ดี en_US
dc.description.abstractalternative Each type of corporations has its own tax burden and each one of them is different from one another. Therefore, the correct and popular tax planning method is choosing the suitable type of corporation that is appropriate for the business. Although establishing a corporation either as Individual, partnerships and non-jurisdiction associations for reduce the tax burden. The method of tax planning is use the partnerships and non-juristic associations as a tax shelter results in inequities in the tax collection system in that taxpayers is higher tax brackets end up paying the same progressive tax rate as those in lower bracket. However, the Revenue Department has paid more attention to audit companies under the partnerships and non-jurisdiction association type. Therefore, the tax planning method changed to establish a Limited Companies or Limited partnerships because it is much easier to establish a company as a corporation as it needs to have only three or more partners/shareholders. The tax rates of limited companies or limited partnerships are lower than those of the partnerships and non-jurisdiction associations. The Revenue code imposed the tax regime by considering only the form of registration with civil and commercial code without considering the substance of the actual business. Therefore this situation creates the inequities to choose the tax unit for avoid paying higher tax rates which conflicts of good tax concept and ability to pay concept. According to the tax laws of the United States of America, there is the special measure for small corporations can choose to pay taxes at only the partnership or shareholder level according to the Pass-Through System without having to pay taxes at the corporate level. This is considered not just the form of registration but the substance of the actual business. This purpose of this thesis is to study the possibility to adopt the measure “S Corporation” to small corporation in Thailand to pay tax at shareholder level by suggesting the appropriate measure for the tax structure and corporate structure in Thailand so that Thailand can maintain good business practice in calculating and pay the right amount of taxes. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1339
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กฎหมายบริษัท
dc.subject การวางแผนภาษี
dc.subject ภาษีเงินได้
dc.subject Corporation law
dc.subject Tax planning
dc.subject Income tax
dc.title แนวทางการนำมาตรการพิเศษสำหรับบริษัทขนาดเล็กที่สามารถเลือกเสียภาษีเงินได้ในระดับผู้ถือหุ้น (S Corporation) มาปรับใช้ในประเทศไทย en_US
dc.title.alternative Possibility on the Adoption of Tax Measures on Small Corporation to Pay Tax at Shareholders Level en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline กฎหมายการเงินและภาษีอากร en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Aua-Aree.E@Chula.ac.th en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2013.1339


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record