Abstract:
มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีหลากหลายมาตรการถูกดำเนินการภายในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของประเทศไทยเพื่อวัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่องการคุ้มครองผู้ผลิตภายในประเทศจากการแข่งขันกับสินค้านำเข้าและเหตุผลความมั่นคงของชาติ ซึ่งได้แก่ มาตรการออกใบอนุญาตไม่อัตโนมัติ มาตรการกึ่งผูกขาด มาตรการเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษในการส่งออก และมาตรการกำหนดสัดส่วนการซื้อวัตถุดิบภายในประเทศ อัตราภาษีเทียบเท่าของมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีในน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ที่ประมาณด้วยวิธีการเปรียบเทียบราคา ได้แสดงให้เห็นว่ามาตรการที่ไม่ใช่ภาษีมีบทบาทที่สำคัญในการคุ้มครองผู้ผลิตภายในประเทศ เมื่อมีการเก็บภาษีศุลกากรนำเข้าจริงที่ระดับต่ำกว่าอัตราภาษีนำเข้าที่มีการประกาศ (Bound rate)ไว้ที่ผูกมัดตามข้อตกลงการค้าต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสินค้าน้ำมันปาล์ม และยังต่ำกว่าอัตราภาษีเทียบเท่าของมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีที่ประมาณการด้วย นอกจากนี้ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าผลกระทบของการยกเลิกมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีประเภทต่างๆในน้ำมันปาล์มนำเข้าต่อระบบเศรษฐกิจไทยด้วยการลดภาษีเทียบเท่าของมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีของน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ของปีพ.ศ.2548 ให้เหลือศูนย์ โดยใช้แบบจำลองการวิเคราะห์การค้าโลกในการวิเคราะห์ จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.003396 ขณะที่เมื่อพิจารณาด้านการค้าระหว่างประเทศอย่าง พบว่าไทยต้องเสียดุลการค้า 11.46522 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับผลต่อภาคอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของประเทศไทยเมื่อมีการดำเนินยกเลิกมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีดังกล่าวพบว่ามีการขาดดุลการค้ารายการผลิตร้อยละ 8.990039 โดยปริมาณน้ำมันปาล์มที่ผลิตภายในประเทศจะมีจำนวนลดลงร้อยละ1.486067 ส่วนภาคอุตสาหกรรมอื่นๆที่คาดว่าจะได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินการค้าดังกล่าวคือ กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและกลุ่มเคมีภัณฑ์