Abstract:
โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ทาให้เกิดกลุ่มอาการที่สมองมีภาวะเสื่อมถอยในผู้สูงอายุซึ่งพบบ่อยที่สุดในประเทศโลกตะวันตก ในประเทศไทยโรคนี้นับวันก็จะเป็นปัญหาเพิ่มขึ้น สมองของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์นั้นพบว่าจะมีระดับสารสื่อประสาทอะเซตทิลโคลีนลดลง ดังนั้นจึงมีการใช้ยายับยั้งการทาลายหรือเปลี่ยนแปลงอะเซตทิลโคลีนเป็นยารักษาหลัก ได้แก่ ยากลุ่ม acetylcholinesterase inhibitor (AChEI) แต่ยาในกลุ่มนี้ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังมีข้อจากัดอยู่หลายประการ เช่น ราคาแพง ผลการรักษายังอยู่เพียงระดับปานกลาง มีประสิทธิภาพในช่วงเวลาสั้น และมีผลข้างเคียงมาก ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงสนใจที่จะคัดกรองพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะเซตทิลโคลีนเอสเทอเรสเพื่อค้นหาศักยภาพของพืชเหล่านี้ในการพัฒนาเป็นยารักษาโรคอัลไซเมอร์ชนิดใหม่ ในการวิจัยนี้ได้ทาการคัดกรองฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะเซตทิลโคลีนเอสเทอเรสในพืชสมุนไพรจากพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดาริฯ (อพสธ.) บริเวณหมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี จานวน 49 ต้น (53 ตัวอย่าง) โดยทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดพืชความเข้มข้น 1 mg/ml เปรียบเทียบกับสารละลายมาตรฐาน Tacrine ความเข้มข้น 0.74 μg/mlจากนั้นนามาหาค่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งจากค่าการดูดกลืนแสงที่ 412 nmจากการทดสอบเบื้องต้นพบว่า พืชที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะเซตทิลโคลีนเอสเทอเรสมากกว่า 70% โดยเรียงลาดับความแรงจากน้อยไปมาก โดยพิจารณาจากค่า IC50ได้ดังนี้ ช้ามะขามป้อม(ใบ) 68.94 μg/ml พะวา(ใบ) 81.19 μg/ml จาปีแขก(ใบ) 100.35 μg/ml ฝาดดอกขาว(ใบ) 103.50 μg/ml มะค่าแต้(ใบ) 115.01 μg/ml พรวด(ใบ) 147.02 μg/ml เขยตาย(ใบ) 195.15 μg/ml เกด(ใบ) 221.81 μg/ml พลองใบใหญ่(ใบ) 452.16 μg/ml พลองใบเล็กหนา(ใบ) 487.48 μg/ml ช้างน้าว(ใบ) 569.87 μg/ml มะลิวัลย์ดง(กิ่ง) 581.66 μg/ml และก้างปลา(ใบ) 705.05 μg/ml ผลการวิจัยนี้เป็นการคัดกรองเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนายารักษาโรคอัลไซ-เมอร์จากธรรมชาติ ซึ่งต้องทาการวิเคราะห์หาสารสาคัญในพืชซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ดังกล่าวต่อไป