dc.contributor.advisor |
พรรณเพ็ญ วัฒนาอาษากิจ |
|
dc.contributor.advisor |
นฤพร สุตัณฑวิบูลย์ |
|
dc.contributor.advisor |
สมบูรณ์ ธนาศุภวัฒน์ |
|
dc.contributor.author |
ณรงค์ กิตติโชคอนันต์ |
|
dc.contributor.author |
ณรงค์ พุทธสัง |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2015-08-12T14:51:38Z |
|
dc.date.available |
2015-08-12T14:51:38Z |
|
dc.date.issued |
2555 |
|
dc.identifier.other |
Sepr 17/55 ค2.21 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44260 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของกระบวนการทำให้แห้ง ได้แก่ การพ่นแห้ง (Spray drying) และการทำแห้งเยือกแข็ง (Freeze drying) ที่มีต่ออัตราการรอดชีวิตของเชื้อ Lactobacillus sp. SL4-1 ซึ่งถูกบรรจุใน alginate microcapsule เนื่องจากรูปแบบแห้งเป็นรูปแบบที่สะดวกต่อการเก็บรักษา การเตรียมเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป และสะดวกในการขนส่ง ดังนั้นจึงต้องมีการนำผลิตภัณฑ์มาผ่านกระบวนการทำให้แห้ง กระบวนการทำให้แห้งเป็นขั้นตอนที่เชื้อโพรไบโอติกต้องสัมผัสกับสภาวะที่ไม่เหมาะสม อาจส่งผลให้เกิดการตายของเชื้อได้ งานวิจัยนี้จึงได้นำเชื้อ Lactobacillus sp. SL4-1 ซึ่งจัดเป็นโพรไบโอติกโดยบรรจุลงใน alginate microcapsule มาผ่านกระบวนการทำให้แห้งดังกล่าว เปรียบเทียบลักษณะทางกายภาพของไมโครแคปซูล ปริมาณความชื้น (moisture content) และอัตราการรอดชีวิตของเชื้อหลังผ่านกระบวนการทำให้แห้ง ลักษณะของไมโครแคปซูลที่ผ่านการทำให้แห้งด้วยกระบวนการพ่นแห้ง ณ สภาวะ Inlet air temperature 170°C และ Outlet air temperature 85-95°C มีลักษณะส่วนใหญ่เป็นทรงกลม ผิวเรียบ ขนาดเล็กกว่า 10 μm บางอนุภาคมีลักษณะเว้าไม่สมมาตร อนุภาคมีปริมาณความชื้น 15.04% และ 14.74% สำหรับไมโครแคปซูลที่บรรจุเชื้อและไม่บรรจุเชื้อตามลำดับ สำหรับไมโครแคปซูลที่เตรียมโดยวิธีไอออนิกเจลเลชันและทำแห้งด้วยกระบวนการทำแห้งเยือกแข็ง ณ สภาวะ freezing temperature -30°C primary drying time ที่ 18 ชั่วโมง และความดัน 600 mTorr มีลักษณะส่วนใหญ่เป็นทรงกลม พื้นผิวอนุภาคย่นเป็นริ้ว เมื่อตัดตามขวางอนุภาคมีลักษณะเป็นแคปซูลเห็นขอบเปลือกชัดเจน ภายในเป็นช่องว่าง อนุภาคที่บรรจุเชื้อมีขนาด 1.496 mm ปริมาณความชื้น 2.00% และอนุภาคที่ไม่บรรจุเชื้อมีขนาด 1.507 mm ปริมาณความชื้น 1.91% สำหรับอัตราการรอดชีวิตของเชื้อหลังผ่านกระบวนการพ่นแห้งไม่สามารถหาค่าได้ เนื่องจากเครื่องพ่นแห้งที่ใช้ไม่ใช่ชนิด aseptic spray dryer จึงทำให้เกิดการปนเปื้อน ส่วนอัตราการรอดชีวิตของเชื้อหลังผ่านกระบวนการทำแห้งเยือกแข็งพบว่าปริมาณเชื้อลดลงจาก 5.914x1010 CFU เป็น 1.466x108 CFU |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
แล็กโตบาซิลลัส -- การอบแห้ง |
en_US |
dc.subject |
การอบแห้งแบบพ่นกระจาย |
en_US |
dc.subject |
การทำแห้งแบบเยือกแข็ง |
en_US |
dc.subject |
จุลินทรีย์ -- การอบแห้ง |
en_US |
dc.title |
ผลของกระบวนการทำให้แห้งต่ออัตราการรอดชีวิตของเชื้อ lactobacillus spp. ในไมโครแคปซูล |
en_US |
dc.title.alternative |
Effect of drying process on viability of lactobacillus spp. loaded microcapsules |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.email.advisor |
ไม่มีข้อมูล |
|
dc.email.advisor |
Narueporn.S@Chula.ac.th |
|
dc.email.advisor |
Somboon.T@Chula.ac.th |
|